รูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วิชาน ศรีอาภรณ์
อรัญ ซุยกระเดื่อง
ไพศาล วรคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษา วิเคราะห์ แนวคิดหลักการการจัดการศึกษาและการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 5คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยนำข้อมูลจากตอนที่ 1 มาร่างรูปแบบและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการประเมินฯ โดยใช้เทคนิคการหาฉันทามติแบบพหุลักษณะ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน จัดทำคู่มือการประเมิน นำคู่มือการประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ตรวจสอบความเหมาะสมความครอบคลุม และความชัดเจนของคู่มือการประเมินฯก่อนนำไปใช้จริงระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการประเมิน เพื่อศึกษาคะแนนการประเมินจากโรงเรียนที่ได้รับรางวัลในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) กับโรงเรียนที่ไม่ได้รับรางวัลที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการประเมิน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานได้แก่ The Mann-Whitney U Test


            ผลการวิจัยพบว่า(1) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า การจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1.1) องค์ประกอบด้านการสนับสนุนการบริหารจัดการ (1.2) องค์ประกอบด้านลักษณะของครูผู้สอน (1.3) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี 1.4 องค์ประกอบด้านการประเมินผล 1.5 องค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน(2) รูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) เป้าหมาย


การประเมิน เพื่อการตัดสินและพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) (2.2) สิ่งที่มุ่งประเมิน คือองค์ประกอบของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) 5 องค์ประกอบ 15 ตัวชี้วัด (2.3) วิธีการประเมิน กำหนดให้มีผู้ประเมินจากภายนอก (2.4) วิธีการตัดสิน กำหนดให้ใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ตัดสินผลการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)  (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) พบว่า กลุ่มโรงเรียนที่ได้รับรางวัล มีผลการประเมินโดยรวมสูงกว่ากลุ่มโรงเรียนที่ไม่ได้รับรางวัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) รูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ที่ผู้วิจัยพัฒนา มีมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sirichai Kanjanawasee. (2543). การประเมินการสอนระดับอุดมศึกษา. Bangkok : ทบวงมหาวิทยาลัย

Moursund J.P. (1973). Evaluation : An Introduction to Research Design. California : Brook & Cole.

Samran Mejang. (2558). การประเมินโครงการทางการศึกษา : ทฤษฎีและปฏิบัติ. Bangkok : Chulalongkorn University Press

Rattana Buosonte. (2013). CIPP and CIPPIEST Evaluation Models : Mistaken and Precise Concepts of Applications. Veridian E-Journal. Silpakorn University.Silpakorn University

Sirichai Kanjanawasee. (2554). Evaluation Theory.. Bangkok : Chulalongkorn University Press

Nevo, David. (1983).“The Conceptualization of education : An Analytical review of the literature,” Review of Education Research. 53 : 117-128.

Sirichai Kanjanawasee. (2552). Evaluation Theory Bangkok : Chulalongkorn University Press

Stufflebeam, Daniel L. and Shinkfield, Anthony J. (1990). Systematic Evaluation. Boston : Kluwer-Nijhoff Publishing.

Johnstone, J.N. (1981). Indicator of Education Systems. London : The Anchor Press.

เยาวดีรางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. Bangkok : Chulalongkorn University Press

Bardo, W. John and John J. Hartman. (1982). Urban Sociology : A Systematic Introduction. U.S.A. : F.E. Peacock Publishers, Inc.

Boonchom Sri Sa-at. (2013) .Preliminary research.(9th Edition) ,Bangkok : Suviriyasarn.