ผลการพัฒนาชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนร่วมฝึกหัดครู โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดงน้อย

Main Article Content

อาริยา สุริยนต์
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนร่วมฝึกหัดครูโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลที่โรงเรียนบ้านดงน้อย จังหวัดนครพนม กลุ่มเป้าหมายเป็นทีมการศึกษาชั้นเรียน จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2จำนวน21คนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสังเกตกล้องบันทึกภาพนิ่ง เครื่องบันทึกเสียง วีดิทัศน์และแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่15เรื่องรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมจำนวน8คาบวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด(Inprasitha, 2015)ผลการวิจัยมีดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันพบว่า ครูสร้างสถานการณ์ปัญหาที่เป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวันของนักเรียนโดยระหว่างการสร้างแผนครูได้ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเองเพื่อเข้าถึงการคาดการณ์แนวคิดและความยุ่งยากของนักเรียน ขั้นที่ 2 การสังเกตชั้นเรียนร่วมกันในขั้นนี้ครูสอนด้วยวิธีการแบบเปิด ให้เวลานักเรียนแก้ปัญหาด้วยตนเองและอำนวยความสะดวกให้นักเรียนแสดงแนวคิดผ่านการพูดและการเขียนผู้สังเกตบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปสะท้อนผลขั้นที่3การสะท้อนผลร่วมกันทีมการศึกษาชั้นเรียนสะท้อนผลถึงแนวคิดและความยุ่งยากของนักเรียนที่เกิดขึ้นสื่อที่ใช้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาชั้นเรียนให้ดีขึ้นสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนพบว่านักเรียนได้รับการโอกาสในการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558).นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(พลเอกดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ).จากhttp://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/42686-5237.pdf. ดาวน์โหลดเมื่อ9กรกฎาคม2559.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์.(2554).คณิตศาสตร์สำหรับระดับชั้นประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (เล่ม 2).ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557).กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน (Processes of Problem Solving in School Mathematics).ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2553). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach). (เมษายน 2552-มีนาคม 2553).

Ball, D. L. Thames, M., & Phelps, G. (2008).Content Knowledge for Teaching: What makes it special? Journal of Teacher Education,59(5),389-407. http://dx.doi.org/10.1177/0022487108324554

Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Designing learning unit. Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education, (pp. 193-206). Gyeongju: Dongkook University.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia,Vol. 34 No. 1. Pp. 47-66.

Inprasitha, M. (2015). Preparing Ground for the Introduction of Lesson Study in Thailand. Lesson Study: Challenges in Mathematics Education, (Vol. 3, pp. 109-120). World Scientific.

Polya, G. (1957). How to solve it (2nd ed.). Princeton, NJ: Princeton University Press.