รูปแบบการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ภณิตา สุนทรไชย
จินดาพร ปัสสาโก
เขมิกา แสนโสม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3) ศึกษารูปแบบของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างคือประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และทดสอบสมการพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเส้นแบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการประเมินสถานะทางการเงินตามหลักความพอประมาณ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การกำหนดเป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักความมีเหตุมีผล การติดตามและปรับปรุงแผนการวางแผนทางการเงินตามหลักความรู้และคุณธรรม และการปฏิบัติตามแผนการเงินตามหลักการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ตามลำดับ 2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ในสมการทุกตัวทั้งหมด 3 ตัวแปร ได้แก่


รายได้-ค่าใช้จ่าย (x1) ภาวะเงินเฟ้อ (x2) และอัตราดอกเบี้ย (x3) สามารถพยากรณ์ได้เท่ากับ 0.575 (R 2 = 0.575) มีค่าความสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.758 (R=0.758) ผลพบว่า รายได้-ค่าใช้จ่าย (x1) และ อัตราดอกเบี้ย (x3) เป็นตัวแปรที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (y) ส่วนภาวะเงินเฟ้อ (x2) ไม่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ3) รูปแบบของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการวิเคราะห์สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ y = 1.271 + 0.326x1 + 0.297x3 และในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Zy = 0.421Z1 + 0.365Z3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Promotion Center for Knowledge Development on Capital Market, Stock Exchange of Thailand. (2011).Handbook on Finance You Must Know : Stepping into Working Age. 2nd Edition. Bangkok : Promotion Center for Knowledge Development on Capital Market, Stock Exchange of Thailand.

Wongchan Ratchanikon. (2010). Personal Financial Management. Bangkok : Stock Exchange of Thailand.

Sirinut Inlakhon, (2016). Personal Finance.(5th Edition). Bangkok : Kasetsart University Press.

Watthanachai, Kasem. (2011). CSR in the Philosophy of Self-Sufficiency Economy. Bangkok : CSR Club.

Maha Sarakham Statistics Bureau. (2013).Provincial Statistics Report, 2014. Retrieved on 5 June 2013 from http://www. Mahasarakham.nso.go.th/index.php?option=com…view…mkm repoet 2556

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York : Harper and Row).

Cronbach, Joseph Lee. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row.

Rangsan Singhalert. (2008). Research Methodology and Statistics for Research in Social Sciences.Maha Sarakham : Triple Group.

Woraphop Sonsapanan. (2011). Personal Financial Planning of the Students of Faculty of Economics, Chiangmai University. Chiangmai: Faculty of Economics, Chiangmai University.

Phonrat, Saengduean. (2011). Factors Affecting the Expenditures on Health Revitalizing Drinks Consumption of the Consumers in Saraburi Province. Independent Studies, Master’s Degree in Business Management (Marketing). Pathum Thani : Rajamangala University of TechnologyThanyaburi.