การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ชญาดา ไชยรบ
อนัญญา เดชะคำภู
วิโรจน์ เซมรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 217 คน ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 15 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดศรีสะเกษ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) หลักการ การดำเนินการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดศรีสะเกษกับภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจ สุขภาพ ทัศนคติ ความปรารถนา กิจกรรม ธรรมมะ และการประเมินผล  2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านความรู้ความเข้าใจ สุขภาพ ทัศนคติ ความปรารถนา กิจกรรม ธรรมมะ และการประเมินผล 3) การดำเนินการ ประกอบด้วยการส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่างๆ ได้แก่ 3.1) ด้านความรู้ความเข้าใจ โดยการให้ความรู้ในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพ การประกอบอาชีพ การออม การเข้าถึงข้อมูล และการสร้างช่องทางในการให้ความรู้
3.2) ด้านสุขภาพ โดยการพัฒนาระบบเครือข่ายสุขภาพ การจัดตั้งโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังโรค ศูนย์พัฒนาสุขภาพ และการพึ่งพากันในการดูแลสุขภาพ 3.3) ด้านทัศนคติ โดยการใส่ใจผู้สูงอายุ ส่งเสริมคุณค่า จัดกิจกรรมยกย่อง การให้เข้าร่วมในกิจกรรมจิตอาสา และการตั้งชมรมหลากหลายวัย 3.4) ด้านความปรารถนา โดยการจัดสวัสดิการสังคม ศูนย์บริการสาธารณะ กองทุน สิ่งอำนวยความสะดวก ปรับปรุงที่พักอาศัย  และพัฒนาสภาพแวดล้อม 3.5) ด้านกิจกรรม โดยการจัดกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม ตอบสนองความพึงพอใจ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้สูงอายุ  และตั้งศูนย์บริการทางสังคม 3.6) ด้านธรรมมะ โดยการจัดกิจกรรมเข้าวัดฟังธรรม สวดมนต์นั่งสมาธิ และสร้างช่องทางในการเข้าถึงธรรมะ 3.7) ด้านการประเมินผล โดยการส่งเสริมการประเมินผลทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม  และการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการอย่างจริงจังและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการได้งบประมาณอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง และผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและเป็นไปได้ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1]World meter. (2018).World-population.Retrieved December 15,2018,from: http://www.worldometers.info/world-population/
[2]Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2016). The Situation of the Thai Elderly Report 2016. Bangkok :PrinteryCo.,Ltd.
[3]Institute for Population and Social Research.(2013). Population and Society in ASEAN : Challenges and Opportunities.Bangkok :Deuan Tula Printing House.
[4] KanoksinKhemjinda. (2015 October). Aging society. Sanpakornsarn. 62(10) : 87-97.
[5] Department Of Provincial Administration. (2018).Statistics of the elderly in Thailand, 77 provinces.Bangkok: Department Of ProvincialAdministration Ministry of the Interior.
[6] ChompunutPhromphakdi. (2013).Aging society in Thailand. Bangkok: The Secretariat of the Senate.
[7] Bureau of Health Promotion. (2013).Guidelines for the Training of Elderly Caregivers 70 Hours Course. Nonthaburi: National Buddhism Office.
[8] ThanakornJatawong. (2016). Survey of Perceptions and Opinions of Government Personnel towards Aging Society: Case Study
of Personnel of the Royal Irrigation Department Project Management Office.Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
[9] Sanya Rakpong.(2015).Roles of Local Administrative Organization to Quality of Life Among Older People Improving in AmphurMuang Sam Sip, UbonRatchathani, Thailand. Master of Political Science(Program in Politics and Governance). Mahasarakham:Graduate School Mahasarakham University.
[10]SudaratSudsomboon and others. (2016, January - June).Role of Local Government Organization for Elderly Care. Journal of Southern Technology. 9,1(2016): 121-127.
[11]SomkidTawkratoke. (2016).Guidelines for
Quality of Life Development for the Elderly of Sub district Administrative Organizations in the Area of Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province .Master of Public Administration (Program in Public Administration). Nakhon Ratchasima : Graduate School Nakhon Ratchasima Rajabhat University.
[12] PatcharinRujiranukul and Thanwadee
Donviset. (2014).Guideline to Improve the Elderly’s Quality of LifeinChantaburi Province.Chantaburi : RambhaiBarni Rajabhat University.
[13] ThikumpornU-taichai. (2016).Life Quality of Elderly in the Lum Pan Chat Municipality, Wang Sam Mo District, UdonThani.Master of Public Administration (Program in Public Administration). Mahasarakham: Graduate School MahasarakhamRajabhat University.
[14] Illario, M and others. “Active and Healthy Ageing and Independent Living”. Journal of Aging Research. (2015) :1-3.
[15] Bunout, D and others. (2016). Quality of life of older Chilean subjects living in metropolitan Santiago, Chile. Influence socioeconomic status. Ageing Research. 3(1): 15-18.
[16] Apinan Sonnoi. (2016). A Model of Quality of Life Development Affecting the Elders in BurriramProvince. Doctor of Phiosophy(Program in Leadership for Professional Development). Buriram:Graduate School BuriramRajabhat University.
[17] Kanda Tekhanmag. (2015). Model of Administration of Local Administration Organization for Develop Quality of Life of Ageing in Lop Buri Province. Doctor of Public Administration (Program in Public Administration). Lop Buri:Graduate School ThepsatriRajabhat University.
[18] Soosova, Maria S. (2016).Determinats of Quality of Life in Elderly. Central European Journal of Nursing and Midwifery. 7(3): 484-493.
[19] Rojco, A. and Olga Gagauz. (2015). The Quality of Life of the Elderly. Moldova : National Institute for Economic Research.
[20] Poommiwat Pruansuk. (2015).Guidelines for Quality of Life Development for the Elderly of Local Administrative Organizations in Phrae Province. Master of Public Administration (Program inUrban and Rural Community Administration and Development). Uttaradit:Graduate School UttaraditRajabhat University.