รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ระดับประถมศึกษา

Main Article Content

กิ่งแก้ว ภูทองเงิน
ทิพาพร สุจารี
จิระพร ชะโน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับประถมศึกษา 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน 3 การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน สังกัดกลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาคำชะอีก้าวหน้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 148 คน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาครู ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่สร้างขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับครูกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน และผลการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน และการประเมินรูปแบบการพัฒนาครู


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาจิตสาธารณะของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารและครูมีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับประถมศึกษา มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผล (2) จุดมุ่งหมาย  (3) กระบวนการพัฒนาครู (4) บทบาทผู้เกี่ยวข้อง  (5) ปัจจัยความสำเร็จ และ (6) การวัดและประเมินผล โดยประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ได้แก่ กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปฏิบัติงานเป็นทีม สะท้อนผลสู่การพัฒนา ในกระบวนการพัฒนาครู แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 2 การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นการรับรู้ ขั้นการตอบสนอง ขั้นการเห็นคุณค่า ขั้นการจัดระบบ ขั้นการพัฒนาเป็นลักษณะนิสัย ขั้นตอนที่ 3 สะท้อนผลการปฏิบัติ 3) ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่สร้างขึ้น พบว่าครูที่เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดชุมชนการเรียนรู้และการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในระดับมาก นักเรียนมีพฤติกรรมจิตสาธารณะต่อครอบครัว โรงเรียน และสังคมก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับประถมศึกษามีความเหมาะสม เป็นประโยชน์ และเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the Education Council. (2010). Revised National Education Plan (2009-2016) Summary.Bangkok:Graphic Sweet Pepper.

Hord, S.M. &Tobia, E.F. (2012) Reclaiming our teaching profession:The power of educators learning in community New York: TeachersCollege Press.

Vichan Panich. (2012). The way to create learning for students in the 21st century. Bangkok :Tathata Publication.

Praphan Phasukyued. (2007). Learning Management (KM) Powered by LO. 2nd edition.Bangkok :Yaimai.

Wijitphan Lapha. (2014). A Development Curriculum for enhance public Consciousness for prathom 4 students. Doctor of Philosophy Ph.D. NakhonSawanRajabhat University.

Shinichi, Shigetomi. (2007). “Publishes and Taken – for – granted Knowledge : A case study of Communal Land Formation in Rural Thailand” Dissertation Abstracts International. 42 (05): 3217 – A; August

Keeratiwit Suwanthunma, Neon Pinpraditand Ariyaporn Kuroda. (2014). The Development of Public Mind Instructional Model Based on the Contemplative Education and Social Cognitive Theory for Elementary Students. Journal of Education KhonKaen University (Graduate Studies Research), 8 (1) : January-March 2014.

Adun Phaison. (2015). Development of Enhancing Learning and Innovation Skills Curriculum of Primary Teachers According to the Concept of Professional Learning Community as the Research Teacher.Doctor of Philosophy Thesis :Mahasarakrm university.

Clark, R. (1994). Media will never influence learning. Educational Technology: Research & Development, 42(2), 21-30.

Yon Chumjit. (2007). Teacher Being. 4th edition, Bangkok:Odeon Store.

Bureau of Academic and Educational Standards. (2009).Guidelines for the implementation of the research project for school curriculum development of Master school using the core curriculum of basic education 2008. Bangkok:Agricultural Cooperatives of Thailand.

Sman Assawaphoom.(2007). “Form and Research for Doctoral Thesis.UbonRatchathani :UbonRatchathaniRajabhat University.

Piyaporn Chumchan. (2016). “The Teacher Development Model in Learning Assessment in the Basic Education School”Social Sciences Research and Academic Journal, 11(31) : January-April.

Chatchawan Boonjaroenket. (2011). Teacher development model to promote learning management that focuses on learners is important of Teacher in Mahasarakham Province. Doctor of Philosophy Thesis :RajabhatMahaSarakham University.

Sompon Khemkhamned. (2013). Development of Phechburapha ' s Young Leaders Training Program on Public Consciousness. Doctor of Philosophy Thesis : Burapa university.

Torres, M. (1998).Extent and sourceofparents’ school – related information.The Journal of Education Research.

Weerapan Matmoon, Rungson Singhalert and Chompunut Mekmueangthong.(2017). “A Model of teacher development for Promotion of Instruction Behavior Student – Centered Learning of teacher in Mahachulalongkornrajavidyalaya University North - Eastern Campus”.CHOPHAYOM JOURNAL, 28 (2) : June - October 2017

Sirithon Srijumnong. (2014). Curriculum development to enhance public mind for lower secondary students according to Contemplative Education.Doctor of Philosophy Thesis, Mahasarakham University.

Tannenbaum, S.C. (2003, February). An analysis of an after-school service-learning program for elementary school children.Dissertation Abstracts International, 63 (8), 2796-A.

Santiphong Yommarat. (2016). Development of Public Mental Activities for High school students.Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 5 (1) : January-June 2016.

Johansen, S. (1988).Statistical Analysisof Counteracting Vectors.Journal of Economic Dynamics and Control. 12: 231-254.

Johnson, D. W. ; Johnson, R.T.andHolubec, E. J. (1994).TheNutsandBoltsofCooperativeLearning.Minnesota : Interaction Book Company.

Hord, S. M., Roussin, J. L., &Sommers, W. A. (2009).Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning.Corwin Press.