ข้อเสนอนโยบายในการพัฒนากำลังคนในเวียดนามกลาง

Main Article Content

นิราศ จันทรจิตร
สฤษดิ์ ศรีขาว
ทินกร อัตไพบูลย์
รชฏ สุวรรณกูฎ
กัญณฐา พงศ์พิริยะวนิช
สุริยันต์ สุรเกรียงไกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสารสนเทศและบริบทการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่เวียดนามกลาง สำหรับใช้ประกอบการกำหนดกรอบข้อเสนอนโยบายในการพัฒนากำลังคนในเวียดนามกลาง ของมหาวิทยาลัยนครพนม และหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง2)  วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน สำหรับการกำหนดกรอบและขอบข่ายข้อเสนอนโยบายในการพัฒนากำลังคนในเวียดนามกลาง ที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) นักวิชาการและผู้บริหารสถานศึกษาของเวียดนามกลาง เพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลบริบทการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและด้านอาชีพของผู้เรียน ในเขตเวียดนามกลาง จำนวน 4 คน 2)  ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา และครูผู้เกี่ยวข้องในเมืองฮาติงห์ ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 5 แห่ง รวม 26 คน  3) ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 4 ครอบครัวรวม 18 คนผู้ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 2 คน และผู้อำนวยการและบุคลากรในศูนย์การมีงานทำของนักศึกษา จำนวน 3  คน สำหรับให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ความต้องการด้านการศึกษาและการอาชีพของผู้เรียน  4) ครูผู้สอนและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและการอาชีพ จำนวน 20 คน และ  32 คน ตามลำดับ สำหรับการตอบแบบสอบถามความต้องการด้านการศึกษาและการอาชีพของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์นักวิชาการและผู้บริหารโรงเรียนด้านข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของเวียดนาม 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูผู้เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาในเวียดนามกลาง เกี่ยวกับการศึกษาต่อสายสามัญและการอาชีพ 3) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องด้านความต้องการในการเรียนต่อจากระดับมัธยมศึกษาและการเลือกอาชีพของผู้เรียน 4) แบบสัมภาษณ์ผู้อำนวยการและบุคลากรในศูนย์การมีงานทำของนักศึกษา และผู้ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท เอกชน เกี่ยวกับความต้องการด้านการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพในเวียดนาม 5) แบบสอบถามครู ผู้บริหาร และนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เกี่ยวกับความต้องการด้านการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของผู้เรียน  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1.   นักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาส่วนมาก มีความต้องการเรียนต่อสายสามัญเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย มากกว่าการเรียนสายวิชาชีพเพื่อการมีงานทำ โดยที่มีความต้องการเลือกเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุด อีกทั้งสนใจเรียนในสาขาวิชาอื่นที่อยู่ในขอบข่ายวิชาชีพชั้นสูง ที่สอดรับกับความต้องการและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมในเวียดนาม ขณะที่กลุ่มผู้เรียนส่วนหนึ่งยังขาดความพร้อมและโอกาสในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ก็ต้องการเรียนต่อสายอาชีพในระดับพื้นฐาน เพื่อให้สามารถสมัครทำงานกับบริษัทหน่วยงานภาคเอกชนในเวียดนามเท่านั้น ซึ่งอาจมีบางคนที่ได้รับโอกาสไปเรียนด้านวิชาชีพเพิ่มเติมและสมัครทำงานกับบริษัทเอกชนต่างประเทศที่เจริญทางเศรษฐกิจในแถบประเทศเอเซีย แต่มีจำนวนน้อยมากที่ได้รับโอกาสเช่นนั้น ทั้งนี้เป็นความต้องการที่จะค้นหาโอกาสด้วยตัวผู้เรียนเอง มากกว่าการขอให้ครอบครัวสนับสนุนรวมทั้งหากมีโอกาสมาเรียนต่อในเมืองไทยก็ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในบางด้านก็พอ

       2.  ขอบข่ายข้อเสนอนโยบายในการพัฒนากำลังคนในเวียดนามกลางที่เหมาะสม มีความเป็นไปได้ ควรมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) สาระสำคัญด้านหลักการและเหตุผล  2) วัตถุประสงค์ข้อเสนอเชิงนโยบาย3) องค์ประกอบของข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวคิดสนับสนุน4) แนวทางการนำข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติและ 5) ข้อจำกัดและแนวทางการประเมินผลข้อเสนอเชิงนโยบายซึ่งองค์ประกอบในแต่ละประเด็นจะสามารถปรับเงื่อนไขสนับสนุน ให้สอดรับกับบริบทและสภาพปัจจัยที่ปรากฏในแต่ละสถานการณ์ขององค์กรหรือหน่วยงาน ทั้งของมหาวิทยาลัยนครพนมและหน่วยงานรับผิดชอบในเวียดนาม โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านการนำข้อเสนอนโยบายไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง ควรคำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญที่องค์กรทั้งสองฝ่ายต้องสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม สอดรับกับบริบทความพร้อมเศรษฐกิจสังคม ความต้องการหรือทางเลือกและข้อจำกัดของผู้เรียนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Ministry of Education and Training. (2014). Thông tu, sô' 01/2014/TT-BGDÐT ngày 24/1/2014 Ban hành khung nang lu?,c ngoa?i ngu?, 6 bâ?c dùng cho Viê?t Nam (Circular number 01/2014/TT-BGDÐT dated 24/1/2014 on The enactment of the 6-level framework for foreign languages in Vietnam). Retrieved from http://www.moet.gov.vn/?page=6.10&type=doc uments&view=5552
[2] La, Thuy T. (2009). Factors that could influence the educational and career decision - making of the senior students in the Northern part of Vietnam. A Dissertation for the Degree of Doctor of Philosophy in Education, University of Hawaii.
[3] MOET. (2007). Technical and Vocational Education and Training (TVET) in Vietnam Retrieved November 05, 2007, from http://en.moet.gov.vn/?page=6.6&view=3462
[4] Diemer, M. A. (2007). Parental and school influences upon the career development of poor youth of color. Journal of Vocational Behavior, 70(3), 502-524.
[5] DeLeon, Peter. (1999). The stages approach to the policy process: What has it done? Where is it going? In: Paul A. Sabatier (Ed.), Theories of the Policy Process. Boulder, CO: Westview Press.
[6] Mitchell, D.E. (1981). Shaping Legislative Decisions: Education Policy and the Social Sciences. Lexington, MA: Lexington Books.
[7] Miskel, C. and Song, M.L. (2004). Passing Reading First: Prominence and processes in an elite policy network. Educational Evaluation and Policy Analysis 26(2): 89-109.
[8] Marshall, Catherine; Mitchell, Douglas; and Wirt, Frederick. (1989). Culture and Education Policy in the American States. New York, NY: The Falmer Press.
[9] Sabatier, P.A. (1999). Theories of the Policy Process. Boulder, CO: Westview Press.
[10] Chanley, Jesse J. Jr. (2005).An Analysis of Civic Education Policy – Making in Arizona Using the Advocacy Coalition Framework and Policy Design Theory. A Dissertation for the Degree Doctor of Philosophy, Arizona State University.
[11] Sabatier, Paul A. and Jenkins-Smith, Hank. (1999). The Advocacy Coalition Framework: An Assessment. In: Paul A. Sabatier, Ed. Theories of the Policy Process. Boulder, CO: Westview Press.