การพัฒนาความสามารถในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค

Main Article Content

รติกร พงษ์ศรี
นฤเบศ ลาภยิ่งยง
อนุชิต กล้าไพรี
นิติภูมิ อัศวธิติสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Proof Mapping 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Proof Mapping หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12  ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562  โรงเรียนโชคชัยสามัคคี  จำนวน 37 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Proof- Mapping และแบบวัดความสามารถในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบน-มาตรฐาน  และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Proof Mapping  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .052)ความสามารถในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Proof Mapping สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Education. (2017). Core Curiculum Studies Basic Curriculum 2551 (revised edition 2560). Bangkok : Agricultural Cooperatives of Thailand.

The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2002). Geometry. Bangkok : Agricultural Cooperatives of Thailand.

Herbst, P. G. (2002). Establishing a custom of proving in American school geometry : evolu-tion of the two-column proof in the early twentieth century. Educational Studies in Mathematics. 49(3), 283-312.

Hanna, G., de Villiers, M., & Internatioal Program Committee. (2008). ICMI Study 19 : Proof and proving in mathematics education. ZDM. 40(2),329-336.

KhawnPiasai (2004). A Study on the Ability of Undergraduate Mathematics Majors in Learning Mathematical Proofs Via Student - Centered Instructional Package. Master of Education Thesis.Bangkok : Srinakharinwirot University.

Cirillo, M., and Herbst, P. G. (2012). Moving toward more authentic proof practices in geometry. The Mathematics Educator, 21(2),11-33.

Linares, L. A. (2008). The Effects of a Proof Mapping instructional technique on high school geometry students and their ability to write geometric proofs. Masterof art thesis. Davis, CA: University of California, Davis.

Academic department. (2018,May). Ordinary National Educational Test. InKomet Hoaymuk (Chair), Monthly meeting.Organized by Chokchaisamakee School, Nakhonratchasima.

Solow, D. (2014). How to Read and Do Proofs: An Introduction to Mathematical Though Process.7 th ed. New York : John Wiley and Sons.

Linares, L. A. and P. R. Smith. (2009). Proof mapping. Mathematics Teacher. 103(4), 258-265.

Kamon Naksutthi. (2016). Effect of Organizing Mathematics Learning Activities Using Proof Mapping Technique to Write Geometric Proofs on Geometric Reasoning Ability of Eighth Grade Students. Master of Education Thesis.Bangkok : Chulalongkorn University.