การพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะ Grit ของนักเรียนสายอาชีพ ในสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

มนทกานต์ เมฆรา
นฤมล พระใหญ่
พาสนา จุลรัตน์
มนตา ตุลย์เมธาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดคุณลักษณะ Grit ของนักเรียนสายอาชีพในสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จังหวัดเชียงใหม่กับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนสายอาชีพในสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดคุณลักษณะ Grit ของนักเรียนสายอาชีพในสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จังหวัดเชียงใหม่โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.37-0.84 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยมีการประมาณค่าพารามิเตอร์โดยใช้วิธีการประมาณค่าความเป็นไปได้สูงสุด


            ผลการวิจัยพบว่าโมเดลการวัดคุณลักษณะ Grit ของนักเรียนสายอาชีพในสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จังหวัดเชียงใหม่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?X^{2} =1.90 df=5 p=.86 GFI=1.00 AGFI=0.99 CFI=1.00 RMSEA=0.00 SRMR=0.00) คือ คุณลักษณะ Grit ของนักเรียนสายอาชีพในสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวน 2 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ความปรารถนาอย่างแรงกล้าและความขยันหมั่นเพียร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Royal Guidance of His Majesty the King Bhumipol Adulyadej. (22 June 1979). Royal Guidance. Retrieved October 2561, From http://nih.dmsc.moph.go.th/jariyatam/home2.html

Office of the National Education Commission. (2002). The Guide for Assesment in classroom : Science: The Basic Education Core Curriculum B.E. Bangkok.

Duckworth, Angela L. et al. (2007). Grit: Perseverance and Passion for Long-term Goals.Journal of Personalityand social Psychology, 92,1087-1101.

Bencharatana Jongjumruspun. (2016). the as Sociation Between Hope and Flourish: The Moderating Roles of Grit and Stress. Master’sthesis,Chulalongkorn University.

Oranut Tharawatchruk. (1996). Relationship Between Scientific Attitude Concerning Perseverance and Science Process Skills of Mathayom Suksa 3 Students. Master’s thesis, Chiangmai University.

Ansari Changlek,Thanyapa Palanukulwong. (2017,July-December). Motivation,Anxiety and grit: Interactive factors determining language learning success. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, Hat Yai Campus ,9, 88-89.

Somboon Suriyawong. (2007). Factor Analysis. Bangkok : Ramkhamhang University.

Poonpong Suksawang. (2013). Structural Equation Modeling Analysis. Bangkok : Wattana Panich.

Locke, E. A.; & Latham, G.P. (1990). A Theory of Goal Setting & Task Performance. New Jersey: Prentice Hall.

McClelland, D.C. (1961). The achieving society.Oxford, England : Van Nostrand.

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton, NJ : Princeton University Press.