การศึกษาหลักสูตรแฝงในบรรยากาศชั้นเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ภูษิต บุญทองเถิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียนของครูและนักเรียน 2) ศึกษาความคาด
หวังของครูและการรับรู้ของนักเรียนตามความคาดหวังของครูจากปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียน และ 3) ศึกษาหลักสูตรแฝง
จากปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ครูผู้สอนและนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนเครือ
ข่ายการพัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กำหนดจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้สูตรของ W.G. Cochran กรณีไม่
กำหนดขอบเขตจำนวนประชากร และวิธีของ Taro Yamane และคัดเลือกโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาปรากฏการณ์ ความคาดหวังของครู และการรับรู้ของนักเรียนจากปรากฏการณ์ที่พบ
ในบรรยากาศชั้นเรียน และ ระยะที่ 2 ศึกษาการรับรู้ปรากฏการณ์ ความคาดหวังของครู การรับรู้ของนักเรียนตามความคาดหวังของครู
และ หลักสูตรแฝงในบรรยากาศชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครู
3) แบบสังเกตการสอน 4) แบบสอบถามสำหรับครู และ 5) แบบสอบถามสำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาวิเคราะห์
ค่าความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาการรับรู้ปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียนของครูและนักเรียน รวม 89 รายการ แยกเป็น 1) ด้านกิจกรรมการเรียน
การสอน 17 รายการ 2) ด้านการวัดและประเมินผล 22 รายการ 3) ด้านสิ่งแวดล้อม สื่อทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ 11 รายการ 4) ด้าน
แบบแผนการปฏิบัติ 23 รายการ และ 5) ด้านภาษาสัญลักษณ์ 16 รายการ พบปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียนที่ครูและนักเรียน
รับรู้ ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 13 รายการ โดยมีปรากฏการณ์ที่ครูและนักเรียนรับรู้สูงสุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ การแต่งกายสุภาพ
เรียบร้อย การเข้าสอนตรงเวลา การใช้คำพูด “ครับ” / “ค่ะ” และการใช้คำแทนตัวว่า “ครู”
2. การศึกษาความคาดหวังของครูและการรับรู้ของนักเรียนตามความคาดหวังของครูจากปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียน
ใน 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 267 รายการ พบความคาดหวังของครูจากปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียนสูงสุดใน 10 อันดับแรก โดย
อันดับ 1 ได้แก่ ความคาดหวังเพื่อให้การประเมินมีมาตรฐานจากปรากฏการณ์การกำหนดเกณฑ์ประเมิน และอันดับ 10 ได้แก่ ความ
คาดหวังกระตุ้นให้นักเรียนส่งงานตรงเวลาจากปรากฏการณ์ไม่รับงานที่ส่งล่าช้า ในขณะที่การรับรู้ของนักเรียนตาม 10 อันดับแรกความ
คาดหวังของครูจากปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียนพบว่า การรับรู้ของนักเรียนอันดับ 1 ได้แก่ การรับรู้ว่านักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหา
ตรงประเด็นถูกต้องจากปรากฏการณ์การบรรยายความรู้ และอันดับ 10 ได้แก่ การรับรู้ว่าเพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนจาก
ปรากฏการณ์การทดสอบก่อนเรียน
3. การศึกษาหลักสูตรแฝงที่เป็นการรับรู้หรือนักเรียนเกิดการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นเรียนที่ต่างจากความคาด
หวังของครูจากปรากฏการณ์ใน 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 178 รายการ พบหลักสูตรแฝงเชิงบวก และหลักสูตรแฝงเชิงลบ ใน 10 อันดับแรก
โดยหลักสูตรแฝงเชิงบวกอันดับที่ 1 ได้แก่ การเรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบเป็นการเรียนรู้จากปรากฏการณ์การแจ้งวัตถุประสงค์
การสอน และอันดับ 10 ได้แก่ การเรียนรู้คุณลักษณะใฝ่รู้เป็นการเรียนรู้จากปรากฏการณ์การทดสอบก่อนเรียน ส่วนหลักสูตรแฝงเชิง
ลบอันดับ 1 ได้แก่ การเรียนรู้การเรียนแบบรับความรู้จากปรากฏการณ์การบรรยายความรู้ และอันดับ 10 ได้แก่ การเรียนรู้ทัศนคติที่
ไม่ดีต่อวิชาเรียนเป็นการเรียนรู้จากปรากฏการณ์การสอนเกินเนื้อหาที่กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Snyder, W. M. ,and McCuen, R. H.(1986).
Hydrologic Modeling : Statistical Methods and
Applications. Prentice-Hall Englewood Cliffs New
Jersey, p.27
[2] Levine, & Arthur. (1978). Handbook on
Undergraduate Curriculum. 1st ed. A Report for the
Carnegie Council on Policy Studies in Higher
Education. San Francisco : Jossey-Bass, 526.
[3] Longstreet, W.S. & Shane, H.G. (1993). Curriculum
for a new millennium. Boston : Allyn and Bacon.
[4] Portelli. (1993). Exposing the Hidden Curriculum.
The Journal of Curriculum Studies, 25(4)
September, 343-358.
[5] Glatthorn, Allan A. (1999). Curriculum alignment
revisited. Journal of Curriculum Supervision, 15(1),
26-34.
[6] Anderson, T. (2001). The hidden curriculum in
distance education : an updated view. Change,
33(6), Nov./Dec, 28-35.
[7] Ballentine, Jeanne H. , & Spade, J. Z. (2001). School
and Society : A Sociological Approach to Education
: The Wadsworth Sociology Reader Series.
Wadsworth Thomson Learning.
[8] Myles., & Brenda Smith. (2001) . Understanding the
hidden curriculum: an essential social skill for
children and youth with Asperger syndrome.
Intervention in School and Clinic, 36(5), May,
279-86.
[9] Oliva, P.F. (2001). Developing the Curriculm. Fifth
Edition. The Lehigh Press.
[10] Schugurensky., & Daniel. (2002). The eight
curricula of multicultural citizenship education.
Multicultural Education, 10(1), 2-6.
[11] Chanita Rakpollamueang. (1991). Educational
Foundation : Social Principle and Concepts.
Department of Educational Foundation, Faculty of
Education : Chulalongkorn University.
[12] Thawatchai Chaijirachayakul. (1997). “Unit 1 :
Principles and Trends of Curriculum Development.”
Subjects Set of Curriculum Development and
Teaching Methodology : Sukhothai Thammathirat
Open University
[13] Posner GJ. (1992). Analyzing the curriculum. New
York : McGraw-Hill. : p.11
[14] Tanner & Tanner. (1995). “Curriculum
Development ;Theory into Practice,” Third Edition.
Prentice-Hall,Inc. New Jersey , America.
[15] Poosit Boontongtherng. (2011). Learning and
Teaching Development. Program in Curriculum
and Instruction : Faculty of Education : Rajabhat
Mahasarakham University.
[16] Romine, Stephen. (2001). “Student and Faculty
Perceptions of an Effective University Instructional
Climates.” The Journal of Education Research.
[17] Tisana Khammani. (2010). Teaching Science :
Knowledge for Management the Effective
Learning Process. Bangkok : Center for Textbooks
and Academic Documents, Faculty of Education
: Chulalongkorn University.
[18] Chiensri Vividhasiri. (1984). Adult Learning
Psychology. Bangkok : Faculty of Education :
Srinakharinwirot University.
[19] Phrapromkunaporn (P.O. Payutto). (2011).
Dictionary of Buddhist Studies : Subjects Set
Volume. Bangkok : Sahathammikka Printing.
[20] Kitiyawadee Bunsue and Others. (1997). Happily
Learning Theories. Bangkok : Office of the National
Education Commission : Ministry of Interior.
[21] Charles, Randall. et al. (1987). How to Evaluate
Progress in Problem Solving. Resto, Virginia :
The National Council of Mathematics.
[22] Manoon Siwarom. (1989). A construction of the
equation predicting mathematics learning
achievement of mathayom suksa five students
by their mathematics scholastics aptitude, attitude
towards mathematics and anxiety. Master of
Education Thesis : Chulalongkorn University.
[23] Prasit Chansiri . (1990). A study of Anxiety in
mathematics and Mathematics Learning
Achievement of Mathayom 1 students in
Mahasarakham Province. Master of Education
Thesis : Mahasarakham University.
[24] Suppavan Tanpoonkiat. (1991). A Relationship
Between Mathematics Anxiety,Intelligence And
Mathematics Learning Achievement Ofmathayom
Suksa Four Students, Bangkok Metropolis. Master
of Education Thesis : Chulalongkorn University.
[25] Patchara Thatsanawijittrawong. (1998). A study
on the relationship between some factors and
mathematical learning. Master of Education
Thesis : Mahasarakham University.
[26] Pensuda Junton. (1998). An Interaction of Learning
Styles and Mathematics Anxiety on Mathemtics
Learning Achievement of Mathayom Suksa Three
Students. Master of Education Thesis : Chulalongkorn
University.
[27] Anek Techasuk. (1998). Relationship between
Attitude toward Mathematics, Attitude towards
teachers, Interest in mathematics, Anxiety in
mathematics, Achievement Motivation, Self
Discipline and and Mathematics Learning
Achievement of Mathayom 2 students in Kalasin
province. Master of Education Thesis : Mahasarakham
University.
[28] Kern, P.D. (1972). A study of the relationship among
anxiety, self-esteem and achievement.
Dissertation Abstracts International, 4551-A.
[29] Kirschenbaum, D. & Karoly, P. (1977). When
self- regulation fails : Tests of some preliminary
[30] Ridgeway, I.C. (1981). Elements of cognitive style,
Mathematics anxiety and sex as they relate to
achievement of high school chemistry students.
Dissertation Abstracts International, 42,161-A.
[31] Strawderman, V.W. (1986). A description of
Mathematics anxiety using an intergrative model.
Dissertation Abstracts International. 47, 457-A.
[32] Coates, J.D. (1998). Mathematics anxiety and
its relationship to students’ Percieved teacher
and parent attitudes toward Mathematics.
Dissertation Abstracts International, 58, June,
4590-A.
[33] Aiken, L. R. (1979). Attitudes toward mathematics
and science in Iranian middle schools. School
Science and Mathematics. p. 229-234.
[34] Tomsic, L.J. (1990). The Relationship among Goal
Accomplishment Style of Upper Elementary Gifted
Students, Attitude toward Mathematics, Higher
Thinking Skills and Mathematics Achievement.
Dissertation Abstracts International, 17(4), 20-41.
[35] Ma, X. (1997). Reciprocal Relationship between
Attitude toward Mathematics and Achievement
in Mathematics. Journal of Educational Research.
4(90),221-229.
[36] Amnuay Chainam. (1994). The Relationship
between Learning support of Parents, Attitude
towards Mathematics, Learning Habits and
Attitudes and Mathematics Learning Achievement
of Mathayom 3 students. Master of Education
Thesis : Chiang Mai University.
[37] Siriwan Promchote. (1999). Factors influencing
mathematics learning achievement of Mathayom 1
students in School of Educational Opportunity
Expansion, Srisaket Province. Master of Education
Thesis : Srinakharinwirot University.
[38] Corbo, Nicholas J. (1984). Mathematics Attitude
and Achievement in Grads Five Through Seven
in South Central Pensylvania. Dissertation
Abstracts International, 45(6), 1672-A-1673-A.
[39] Bessant, K.C. (1995). Factors associated
with types of Mathematics anxiety in colledge
students. Journal for Research in Mathematics
Education, 26(1995),327-345.
[40] Poosit Boontongtherng. (2006). “Control the
Influence of the Hidden Curriculum : The Way to
Enhance the Learning of Mathematics based on
Quality Criteria”. Journal of Education Studies,
4(Special Issue) February, 73-85.
[41] Silberman, C.E. (1970). Crisis in the Classroom.
New York : Random House. p.9
[42] Barz, Jonathan M. (2001). Coach Knight and the
hidden curriculum. Lutheran Education, 136 (4),
Summer, 244-6.