รูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

ชญาดา เพ็ญสุข
ศุภาวีร์ มากดี
เสนอ ภิรมจิตรผ่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) สร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ทดลองและประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองไหล ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัย คือ ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบ การเล่านิทานมากที่สุด สื่อที่ครูใช้มากที่สุด คือ หนังสือนิทาน กิจกรรมที่ครูใช้สอนมากที่สุด คือ การเล่านิทาน และการวัดและประเมินผลที่ครูใช้มากที่สุด คือ การใช้การสังเกต 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย วิธีดำเนินการ และการวัดและประเมินผล ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม โดยวิธีดำเนินการประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นแนะนำ ขั้นเสริมประสบการณ์ ขั้นร่วมมือและขั้นสรุป 3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า เด็กปฐมวัยมีผลความฉลาดทางด้านอารมณ์หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of The National Economic and Social
Development Board. (2017). The Twelveth National
Economic and Social Development Plan (2017 -
2021) : Bangkok.
[2] Office for National Education Standards and
Quality Assessment (Public Organization). (2001).
Quality Assurance Manual (2001-2015) Basic
Education. 3rd ed. Bangkok : Bangkok.
[3] Department of Local Administration. (2008). Local
Education Standards. Bangkok.
[4] TrangkaSombat, Umaporn. (2008). Emotional
intelligence to your child. 1st ed : Bangkok.
[5] Goleman, D. (1998). Working with Emotional
intelligence. New York : Bantam Books.
[6] Punnitamai, Weerawat. (2008). Emotional
Intelligence : Index of happiness and success in
life. 7th ed : Bangkok.
[7] Department of Mental Health.(2014). A Manual for
Early Childhood Emotional Intelligence Activities
for Teachers in Child Development Centers. 1st
ed. Nontaburi : Bureau of Mental Health Promotion
and Department.
[8] Tuntipholseewa, Kullaya. (2002). Early Childhood
Education Instruction Model. Bangkok : Adison
press product.
[9] Winkomin, Porntip. (1999). Early Childhood
Education Story and Puppet. Petburi : Phetchabuir
ValayaAlongkorn Rajabhat University.
[10] Srisa, Suttanooi. (2008). Applied Statistics with
Social Research. 3rd ed : Bangkok.
[11] Ganawong, Chewiee (1993). Child Study
: Srinakharinwirot University. Phisanulok :
Ganesh.
[12] Intanil, Paipun. (2004). Reading Promotion.
Bangkok : Cholburi publisher.
[13] Mektairat, Waliaporn. (2006). Early Childhood
Experience. Nakornsawan : Education Faculty :
NakornsawanRajabhat University.
[14] Runcharoen, Sawittee. (2006). Story made children
clever. Academic Journal of Khonkean University,
14 (2), 29-32 ; April - June.
[15] Rittisarn, Siriwan. (2007). Comparison of Creative
thinking and Emotional Intelligence for Early
Childhood by Story Activity teaching Method and
Normal teaching Method. Master of Education
Thesis Pranakorn Sri Ayuttay : Pranakorn
SriAyuttaya Rajabhat University.
[16] Koohanin, Chaweewan. (1999). Reading and
Reading Promotion. Bangkok : Sillapabunnakarn
publisher.
[17] Yunpun, Kerk. (2000). Storytelling. 3rd ed. Bangkok
: Suweeriyasan publisher.