การดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วรัญญา นันทา
สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำ ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ความพึงพอใจในการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำของบุคลากรโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) สภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 10 โรงเรียน จำนวน 254  คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มเป็นระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วนและการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า เกี่ยวกับมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำกับความพึงพอใจในงาน ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .981 และ .995 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 อยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจต่อสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 อยู่ในระดับมาก และ 3) สภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำด้านการบริหารจัดการส่งผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (X1) มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 22.00  โดยเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


                               สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


                                   gif.latex?\hat{Y}      =    1.798 + 0.452 (X 1)


                               สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)


                                    gif.latex?\hat{Z}y     =   0.469(ZX 1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Nathaporn Suemark. (2008). Factors Affecting
the Satisfaction with Work Performance of Early
Childhood Teachers of Schools under Rayong
Educational Service Area Office 1. Thesis for
Master’s Degree in Educational Administration.
Faculty of Education, Sukhothathamathirat Open
University.
[2] Krejcie,R.V., and Morgan D.W., (1970). Determining
Sample Size for Research Activities. Educational
and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
[3] Yingsak Pinpirom. (2013). Developing the Childcare
Administration of Mae Chan Welfare School in
2012. Office of Special Education.
[4] Sanya Saenthaweesuk. (2011). The Administration
of Northeastern Welfare Schools under the Office
of Special Education. Thesis for Master’s Degree
in Educational Administration. Ubon Rajabhat
University.
[5] Herzberg , F.B. and Synderman B.B. (1975).
The Motivation to work. (2nd ed.). New York : Johns
Wiley & Sons.
[6] Prekamon Jintananon (2557). Motivation and hygiene
factors corporate culture related to the
organizational commitment of the government
officers working in the government revenue office
in Nakhon Pathom area
[7] Special Education Adminstration Office (2554). the
Standards of Help-Care for Students