สวยเริดเชิดโสด: มองเธอมองเขา “ร้าย”หรือ “ดี”ผ่านบริบทสังคมบริโภคนิยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาแง่มุมของตัวละครในนวนิยายแนวพาฝันในลักษณะที่เป็นการแบ่งบทบาทเป็นตัวละครฝ่ายดีและตัวละครฝ่ายร้าย เส้นแบ่งความร้ายหรือดีของตัวละครในนวนิยายจะต้องประกอบไปด้วยเหตุผลสร้างความสมจริงให้แก่ตัวละครให้มีมิติน่าสนใจ ตัวละครมีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การใช้กรอบความคิดบริบททางสังคมบริโภคนิยมและแนวคิดแบบปิตาธิปไตยของสังคมไทยเข้ามาเป็นแว่นในการมองความซับซ้อนของตัวละครทำให้เห็นถึงการการยื้อแย่งตัวตนที่แท้จริงกับความเป็นหญิงที่สังคมพึงประสงค์ ทั้งนี้ผู้วิจัยเลือกนวนิยายพาฝันเรื่องที่ได้รับความนิยมคือ เรื่องสวยเริดเชิดโสดของ โสภี พรรณราย มาเป็นกรณีศึกษาตัวละครสำคัญในเรื่องทั้งหมด 4 ตัวคือขวัญอุมา พิมพ์มณี ธนพ และ วรวิทย์ ผลการศึกษาพบว่าแม้ว่าในนวนิยายแนวพาฝันที่โดยทั่วไปมักเห็นว่ามิติของตัวละครจะเป็นแบบภาพเหมารวม แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าตัวละครมีการดำรงขนบของตัวละครอันเป็นลักษณะเฉพาะของนวนิยายแนวพาฝันและมีการแปรเปลี่ยนไปด้วยเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม อีกทั้งยังมีส่วนที่มีความย้อนแย้งของพฤติกรรมของตัวละครกับตัวตนของตัวละครที่ผู้แต่งสร้างขึ้นอีกด้วย ตัวละครร้ายหรือดีนั้นอาจต้องมีเงื่อนไขหรือเหตุผลที่ซับซ้อน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
of “How to Think” on the Popular Culture “ Face
and Back Pop culture. Bangkok : Sirindhorn
Anthropology Center (Public Organization).
[2] Karnjana Keawthep. (1994). Maya Phinij No. 2 :
Women and the Media. Bangkok :Gender
Publisher.
[3] Saowanit Chunlawong. (2007). Complexities of
story-telling : postmodern features in contemporary
Thai fiction. Doctor of Philosophy : Chulalongkorn
University.
[4] Sunee Prasongbundit. (2010). Examining Pierre
Bourdieu’s concept of ‘Habitus’ and its
contributions to anthropological theories. Bangkok
: Thammasat University.
[5] Santi Thongphrasert. (1976). Development of Thai
novels, B.E.2476-2517. (Master’s thesis) Bangkok
: Srinakharinwirot University Prasarnmit.
[6] Online Manager. (2010). Secret, Catchy, Disguise :
Thai drama (2) : Literally forming as Actor, Un
veiled 3 golden hand composers. 15 March
2017,from ;http://www.manager.co.th/Entertain
ment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000062329
[7] Somkiet Tungmano. (2006). “Visual Culture about
the Body and Area,” Look for :Visual Culture.
Mahasarakham : Mahasarakham University Press.
[8] Sophee Phanrai. (2008). Most Beautiful and Single.
Bangkok : Total Message (1977) Limited.
[9] Somrak Chaisingkananon. (1995). “Take care the
people in the mall,” Consumption Culture :
Concepts and Analysis. Bangkok : Research and
Production Center, Krirk University.
[10] Sarinthon Ratchareonkhajorn. (2003). “Coffee shop:
meaning in popular consumer culture,”. Anthropol
ogy and the study of the past yearning
phenomenon in contemporary Thai society.
Bangkok : Sirindhorn Anthropology Center, Public
Organization.
[11] Saryphin Suthuddthamongkon and others. (1998).
“Explore the theory “Revealing the body -
camouflage, Try to look at the body in religion,
philosophy, politics, history, art and anthropology.
Bangkok : Torchlight Publishing House.
[12] Piyaruedee and Chaiyan Chaiyaporn. (1998).
“Sex : Activities was liked to do but don’t like to
talk! Sex and sexual arousal, Body and God Playing
with the body,” Revealing the body - camouflage,
Try to look at the body in religion, philosophy,
politics, history, art and anthropology. Bangkok
: Torchlight Publishing House.
[13] Modleski Tania. (1990). Loving with a Vengeance
: Mass-Produced Fantasies for Woman. New York
: Routledge.
[14] Somsuk Hinwimarn. (2002).“TV Drama:the Topic
on “Slap and Kiss more” and “Husband and wife
More” in the sewage media” Entertainment media
: Power of Absurdity. Bangkok : All About Print.