การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู

Main Article Content

สมบัติ ฤทธิเดช
ประสพสุข ฤทธิเดช
กนกวรรณ ศรีวาปี
สุนันทา กินรีวงค์
สายใจ เพ็งที

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้และความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนเชิงประเด็นตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู (2) สนับสนุนส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจัดการเรียนรู้เชิงประเด็นตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู(3) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงประเด็นพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูและ(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้เชิงประเด็นตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (M i xd  Research)  กลุ่มเป้าหมายผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 25 คน  นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 25 คน  อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 25 คน และนักเรียนแกนนำ จำนวน 250 คน ได้เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ พื้นที่การวิจัยโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู  จำนวน 25 โรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสำรวจปัญหาด้านการเรียนรู้และความต้องการเรียนรู้เชิงประเด็น (2)  แบบประเมินโรงเรียนสุขภาวะ (3)  แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (4)  แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการศึกษานำเสนอแบบตารางและการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงประเด็นของผู้เรียนพบว่ามีปัญหา 1) ด้านการเพิ่มการบริโภคผักผลไม้และอาหารปลอดภัยร้อยละ 95.00  2) ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณธรรมจริยธรรมร้อยละ 60.00  ในส่วนความต้องการการเรียนรู้เชิงประเด็นตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนต้องการเรียนรู้ด้านการเพิ่มการบริโภคผักผลไม้และอาหารปลอดภัย ร้อยละ 56 และความต้องการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพร้อยละ  20

  2. ผลการศึกษาสนับสนุนส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจัดการเรียนรู้เชิงประเด็นตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูได้แนวทางสนับสนุนส่งเสริม คือ 1)  การจัดทำโครงการวิชาการเรียนรู้เชิงประเด็น 2)  การส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 3)  การจัดการเรียนรู้ 4)  การผลิตสื่อการเรียนการสอน 5)   การวัดและประเมินผล 6)  การทำงานแบบมีส่วนร่วม

  3. 3.  ผลการศึกษาการประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงประเด็นพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู 4 ประเด็น คือ 1) ด้านสุขภาพผู้เรียนก่อนเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อสิ้นสุดโครงการด้านสุขภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก 2)  ด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนเข้าร่วมโครงการและเมื่อสิ้นสุดโครงการผู้เรียนเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 3) ด้านการเพิ่มการบริโภคผักผลไม้และอาหารปลอดภัยก่อนเข้าร่วมโครงการ และสิ้นสุดโครงการ ผู้เรียนได้เรียนรู้อยู่ในระดับมาก 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เรียนรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการและสิ้นสุดโครงการอยู่ในระดับมาก

4.   ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้เชิงประเด็นตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ผู้เรียน มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยได้เรียนรู้  4  ประเด็น คือ ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การเพิ่มการบริโภคผักผลไม้และอาหารปลอดภัย และด้านคุณธรรมจริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiraprapha Akaraborworn. (2006). Create people :Create works. Bangkok : KorPholapim.

Tawee Montrong. (2002). Guideline for EducationalQuality Assurance Operation of Schools Attached to the Office of Sop Prap District PrimaryEducation, Lampang Province. Chiang Mai :Chiang Mai University .

Prasopsuk Rittidet and Sombat Rittidet. (2016-2017). Project to create a learning management networkaccording to Health school guidelines for develop the Children and Youth in the Teaching Profession Development School. Research Grants from the Office of Health Promotion Foundation.

Bunchom Srisa-ard. (2002). Preliminary Research.7th Edition, Bangkok : Suweeriyasarn.

Supang Chantavanich. (2006). Qualitative Research Methods. 14th Edition. Bangkok :Chulalongkorn University Press Office.

Phiphat Wichiensuwan. (1998). National Education Plan, National Education Development Plan. Bangkok : The book.

Somsak Sinthurawech. (1999). Geared towards quality education. Bangkok : Wattanaphanich.

Phongsai Sayrach. (2003). Assessment of educational quality according to educational quality standards, Department of General Education of United Secondary Schools in KhueangNai Campus, UbonRachatani Province. Master of Education Thesis, Rajabhat Institute UbonRatchathani.

Phichitphol Suththisanon. (2003). Development of Student Counseling System. Bangkok : Department of General Education , Education region8.

Ekkarin Seemahasarn. (2002). School Curriculum Preparation Process: Concepts to Practice. Bangkok : Bookpoint.

Lewis, M. and Mie, J. (1972). Supervision for Improved Instruction : New Challenges.Wadsworth New responses,

Pinsuda Siridhrungsri. (2015). A series of participatory project management : Education for Children and Youth. Bangkok : DPUCoolprint.

Supang Kotrakool. (2002). Educational Psychology.Bangkok : Darnsuththa Printing.