การพัฒนาการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ยุภาวดี พรมเสถียร
นิราศ จันทรจิตร
กัลยารัตน์ หัสโรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล
2 2) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ให้มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป
ร่วมกับการใช้คำถาม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถาม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบ
ด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ครูสอนระดับปฐมวัย ในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 คน 2) กลุ่มทดลองใช้แผนการจัดประสบการณ์
ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 จำนวน 19 คน โรงเรียนบ้านโคกศรีสำราญวังหน้าผา 3) กลุ่มทดลองจริง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 จำนวน
14 คน โรงเรียนบ้านหลุบหวายป่าขามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน
2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนชั้นอนุบาล 3) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามจำนวน 15 แผน
4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 8 ข้อ 5)แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาการ
จัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่มีคุณภาพ พบว่า ควรมีการส่งเสริมความสามารถใน
การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น ซึ่งผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดไฮสโคปร่วมกับ
การใช้คำถามประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นเผชิญปัญหาซักถาม 3) ขั้นปฏิบัติ
4) ขั้นสรุปและประเมินความรู้ รวมทั้งมีผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามของ
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรากฏว่าคุณภาพรายแผนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และผลการประเมินคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) แผนการจัด
ประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.64/ 82.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนด 80/80
(3) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้คำถามมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการใช้
คำถาม มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Education. (2017). The Elementary Education Curriculum 2017 for children3-6Years.Bangkok : Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.

Office of the Private Education Commission. (2003).The Experience Management Plan of the Pre-primary Level. Bangkok : Teacher’s council publishing.

Phatcharin Pholyothin.(2000). Learning of Thai Preschool Children : According to High Scope Concepts. Bangkok : National Institute for Education for Early Childhood : Office of the National Education Commission.

Witthayathorn Thorkeaw. (2000). “Questioning and Answering Techniques,” Malaria Journal, 35(1) , 28-31; January-February.

Jintana Preedanan. (2003). Brain Development Questions. Bangkok : Thammarak.

Hall, Gene E., Linda F. Quinn, & Donna M. Gollnick.(2014). Introduction to Teaching : Making a Difference in Students Learning. Thousand Oaks, CA : SAGE, Publication ;Inc.

Sparks-Langer, Georgea M. Alena J. Starko, Marvin Pasch, Wendy Burke, Christella D. Moody,& Trevor G. Gardner. (2004). Teaching as Decision Making : Successful Practices for the Secondary Teacher.Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.

Cohen, Louis, Lawrence Manion, Keith Morrison, & Dominic Wyse. (2010). A Guide to Teaching Practice. 5th ed. London :Routledge.

Churaporn Phisuthsupharit. (1994). The Study of Observation Ability of Early Childhood which Parents Use the Set of Knowledge Promotion for Parents.“Invite to talk, to Sing and to Play”. Master’s thesis. Bangkok : Srinakharinwirot University Prasarnmit.

Wirun Thangchareon. (1996). Art Education. 2 nd ed ition. Bangkok : Odeon Store

Suwanna Khonthong. (2004). Alternative : The effects of art activities with classical music on young children creativity. Early Childhood Education Thesis. Bangkok : Srinakharinwirot University Prasarnmit

Arree Phanmanee. (1994). Creativity. Bangkok : 1412 Publisher.

Waraporn Rakwijai. (1992). Early Childhood Parenting. Bangkok : Saengsil Printing,