การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

วัณยรัตน์ คุณาพันธ์
สมโภชน์ อเนกสุข
ดลดาว ปูรณานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังเคราะห์กระบวนการการปรับ
ตัวจากประสบการณ์ของนักศึกษา วิเคราะห์ประสิทธิผลกระบวนการปรับตัวและทางเลือกในการนำไปใช้ของนักศึกษา การศึกษาเชิง
ปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,250 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม
แบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา
2559 จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ย ปัญหาสูงสุดใน
ระดับมาก คือ มีเวลาพักผ่อนหย่อนใจน้อยมาก ด้านความจำเป็นต่อร่างกายมีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดระดับมาก คือ รับประทานอาหารที่มี
สารอาหารไมค่ รบทุกประเภท ดา้ นการเรยี นรมูี้คา่ เฉลี่ยปญั หาสูงสุดในระดับปานกลางคอื มีหลายรายวิชาที่นกั ศึกษารสู้ กึ วา่ ไมเ่ ขา้ ใจในสิ่ง
ที่ เรียนอย่างแท้จริง 2) กระบวนการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมี 2 ลักษณะ รวม 4 กระบวนการ คือ ลักษณะที่ 1
การปรับตัวเบื้องต้น ใช้กระบวนการที่ 1 วิธีการเบื้องต้นได้แก่ การเพิ่มความพยายาม และการปรับหรือเปลี่ยนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ลักษณะ
ที่ 2 ถ้าการปรับตัวเบื้องต้นไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากสาเหตุร่วมทางจิตใจ ใช้กระบวนการที่สอดคล้องกับสาเหตุนั้นคือ กระบวนการ
ที่ 2 ความคับข้องใจ: ใช้วิธีการจัดการความคับข้องใจได้แก่ การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมถอยหลัง กระบวนการที่ 3 ความขัดแย้ง
ใจ: ใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งใจ ได้แก่ การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ การเผชิญความจริง และการหลีกหนีความจริง กระบวนการ
ที่ 4 ความเครียด: ใช้วิธีการจัดการความเครียด ได้แก่ การบำบัดทางธรรมชาติ และใช้กลไกทางจิต 3. ประสิทธิผลของกระบวนการ
ปรับตัวเบื้องต้น ด้วย กระบวนการที่ 1 ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความจำเป็นต่อร่างกาย และด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวม การปรับตัว
ที่ประสบความสำเร็จทุกด้านในระดับมาก กระบวนการที่ 2 ความคับข้องใจ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับ
มาก กระบวนการที่ 3 ความขัดแย้งใจ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็ จในระดับมาก และกระบวนการที่ 4 ความเครียด
มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยพิจารณาจากสมการจำแนกกลุ่มของทุกกระบวนการ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการ
พบว่า สามารถจำแนกกลุ่ม ที่ปรับตัวได้กับกลุ่มปรับตัวไม่ได้ออกจากกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .05
ค่าสัมประสิทธิ์มากที่สุดของแต่ละสมการจัดประเภทในรูปคะแนนดิบของกลุ่มที่ปรับตัวได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้
กระบวนการ คือ กระบวนการที่ 1 ได้แก่ การปรับเปลี่ยนเป้าหมาย (14. 90) กระบวนการ 2 ได้แก่ การควบคุมตนเอง (8. 68) กระบวนการ
3 ได้แก่ การใช้เหตุผล (6.63) และ กระบวนการ 4 ได้แก่ การใช้วิธีการธรรมชาติ (4.81)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Public Relations Department, Region 2. (Strategies of Nine Provinces in the Lower Northeastern Region) http://region2.prd.go.th/main.php?filename=Strategy/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง(February 17, 2561)

National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. (2560) http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขารายได้/เศรษฐกิจสังคมครัวเรือน/60/SocioSum60_First-6-Month.pdf (February 17, 2561)

The 19th Student of Faculty of Nursing from an interview on February 24. 2559.

The 5th Student of Faculty of Management Science from an interview on February 24, 2559.

The 11th Student of Faculty of Political Science from an interview on February 24, 2559.

Roy, Mayer. (1976). Applying Behavior-Analysis Procedures with Children and Youth. New York: Holt, Rinehart.

Wichai Boonraeng. (2553). State of Problems Adjustment and Coping of Students Residing in Chiang Mai University Dormitories. M.Ed. Thesis in Educational Psychology and Guidance, Graduate College, Chiang Mai University.

Nitait Jaroenpuntoon. (2543). A Study of Adaptive Behaviour of Students on Learning State of Industry at Vocational Certificate Level (Industry) in Technical Colleges under Vocational Education Department in Bangkok. M.Ed. Thesis.Srinakharinwirot University

Chanya Ratnobon. (2545). Problems on Self-Adjustment of First Year Students, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. M.Ed.Insertation in Educational Psychology and Guidance, Graduate College, Chiang Mai University.

Lakkhana Sarivat. (2545). Mental Hygiene and Self Adjustment. Bangkok : Odeon Store. p. 65.

Thongrian Amaratchakun. (2525). Administration of Student’s Affairs : Theory and Practice.Documents.

Morris, Anne; and Dyer, Hilary. (1990). Human aspects of library automation. Aldershot, Hants :Gower.

Prasart Issarapreeda. (2523). Adolescent Psychology. Bangkok : Sueksitsiam.

Waraphorn Trakulsakrit. (2549). Team Work.Bangkok : Academic Promotion Center Printing.

Sukanya Komsan. (2540). Strategies to Cope with Stress and Alcohol Consumption Behaviour in Early Adulthood. M.Ed. Thesis (Developmental Psychology). Bangkok: Graduate College,Srinakharinwirot University. Copied documents.

Thawin Tharapot and Saran Damrisukh. (2548).Human Behaviour and Self Development. 5th ed.Bangkok : Aksarapipat.

Ajara Eb Suksiri. (2016). Psychology for Teachers (3rd edition). Bangkok : Chulalongkorn Publishing House University.

Aranya Tuikhampee. (2017). Psychological adjustment and promotion of the health of the elderly and caregivers : Empirical research.Bangkok : Chulalongkorn Publishing House University.

Longman dictionary of American English (5th ed.).(2014). England : Pearson Education.

Sommai Mahabanpot (2016). Mental health and adjustment. Bangkok : Shtrrm Mick.

Jatuporn Khayankuan (1997). Stress of female employees in the industry. Thesis Master of Science, Industrial Psychology, Graduate College,Kasetsart University.