สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

สุพิชฌาย์ สีหะวงษ์
จำลอง วงษ์ประเสริฐ
ทัศนีย์ ชาติไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประชากร ได้แก่
ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่ง
เสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัด
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์
เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม และความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดเชิง
คณิตศาสตร์ประกอบด้วยความสามารถ 5 ด้าน คือ การแก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ การสื่อสารความคิด
เชิงคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงสาระหลักเชิงคณิตศาสตร์ การนำเสนอตัวแทนความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 2) สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อ
ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับปานกลาง และ
ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรวมความคิดเห็นของครูผู้สอน
คณิตศาสตร์ตอนปลายและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Mathematic Assessment. Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao.

Ministry of Education. (2008). Core Curiculum Studies Basic Curriculum 2551. Bangkok : Agricultural Cooperatives of Thailand.

Rickart, C. (1996). Structuralism and Mathematical Thinking. In The Nature of Mathematical Thinking. Sternberg, Robert J.; & Ben-Zeev, Talia.,editors. NJ : Lawrence Erlbaum Associates. pp.285-300.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). Mathematical skills and processes. Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao.

Nabumrung, Rungtiwa. (2007). Natural Ways of Mathematical Thinking on Multiplication and Division of Children Aged 7-10. Doctor of Education Thesis. Bangkok : Srinakharinwirot University.

National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematics. USA : NCTM.

Stacy, K. (2007). What is mathematical thinking and why is it important. Received May 8, 2016, from http://www.criced.tsukuba.ac.jp/math/apec/apec/2007/paper_pdf/Kaye%20Stacey. pdf.

Srisa-ard, Boonchom. (2013). Introduction of Research. 9th ed. Bangkok : suweeriyasan.

Pimporn Fonglum. (2012). Problems of learning and teaching general Mathematics Department of General Education, Sripatum University. Bangkok: Sripatum University.

Jatuporn Wongchai, et al. (2014). Multi-Level Factors Affecting Ordinary National Educational Test (O-NET) Result in Mathematics Subject of Prathom Suksa 6 Students in Expansion Schools under Chiangrai Primary Educational Service Area Office 3. Journal of Graduate Studies in NorthernRajabhat Universities, 4(7), 75-90.

Jutamas Kantha and Bantita. Insombat (2014).Causal Factors Affect the Ability of Solving Mathematical Problem of Prathomsuksa 6 Students of Phichit Province. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 4(6), 41-56.