การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

รณชัย ศรีสุธัญญาวงศ์
ปิยะธิดา ปัญญา
ณัฏฐชัย จันทชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครูในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐานสังกัดสาํ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใชก้ ระบวนการวิจัยและพัฒนาผวูิ้จัยไดท้ ำการศึกษาเอกสารตำราบทความ
รายงานการวิจัยและฐานข้อมูลต่างๆ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน3คนมายกร่างรูปแบบการประเมินที่ผ่านการตรวจสอบยืนยันความ
เหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการประเมินด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน9คนโดยใช้เทคนิคการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ
(Connoisseurship) จากนั้นนำรูปแบบการประเมินไปทดลองใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด
เขต1จำนวน13แห่งเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) ของรูปแบบการประเมินแล้วทำการประเมินรูป
แบบการประเมินในมิติความเป็นไปได้ความเหมาะสมความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการประเมินโดยคณะผู้ประเมิน
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทดลองใช้รูปแบบการประเมิน ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่องค์ประกอบที่1ด้านการเตรียมการสอนมี 6 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 2 ด้าน
การจัดกระบวนการเรียนรู้มี 10 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 3 ด้านสื่อการเรียนรู้มี4ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการวัดและประเมิน
ผลการเรียนรู้มี10ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนประกอบได้แก่หลักการและเหตุผลของการประเมินเป้าหมายของการประเมินสิ่งที่มุ่งประเมิน(องค์ประกอบ
และตัวบ่งชี้)กระบวนการ/วิธีการของการประเมินประกอบด้วย4ขั้นตอนคือขั้นเตรียมการประเมินขั้นดำเนินการประเมินขั้นสรุปผลและ
ขั้นรายงานผลการประเมินเกณฑ์การประเมินมีลักษณะเป็นเกณฑ์สัมบูรณ์โดยกำหนดเป็นค่าร้อยละส่วนแนวทางการนำไปใช้ประกอบ
ด้วยคำอธิบายและระดับคุณภาพแหล่งผู้ประเมินเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุป
รายงานผลการประเมินมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) โดยครูผู้สอนซึ่งเป็นครูวิชาการที่ผ่านการอบรมมีผลการประเมิน
โดยรวมสูงกว่าครูผู้สอนซึ่งเป็นครูวิชาการที่ไม่เคยผ่านการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01โดยกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการทดลอง
ใช้รูปแบบการประเมินมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของ
ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรบูู้รณาการแบบครบวงจรของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นไปได้ความเหมาะสมความถูกต้องและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากโดยกลุ่ม
ผู้เกี่ยวข้องกับการทดลองใช้รูปแบบการประเมินมีความคิดเห็นต่อคู่มือการประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครูใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of Academic and Educational Standards.(2013). Integrated Learning Management Approach, Improved Version. Bangkok : Office of Academic and Educational Standards, Office of the Basic Education Commission.

Phaisarn Worakham. (2015). Educational Research.2nd edition. Mahasarakham : Scala Silas Printing,

Sirichai Kanjanawasee. (2005). Traditional test theory. Bangkok : Chulalongkorn University.

Office of Academic and Educational Standards. (2010). Learning management guidelines based on the core curriculum of basic education2008.Bangkok : Cooperative Assembly of Thailand.

Krissana Kiddee. (2004). A development of the evaluation model of the student-centered learning management. Doctor of Education Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University.

Chailikhid Soiphechkasem. (2004). Development of evaluation models for teacher learning process management of School under the Office of the Basic Education Commission. Doctor of Education Thesis : Naresuan University.

Arthid Ardharn. (2015). Development of Learning Management Evaluation Model of the Science Special ClassroomSchool in High School. Doctor of Education Thesis : Mahasarakrm university.

Sirichai Kanjanawasee. (2000). Child - CenterLearning in workshop documents on the issue of Learning Innovation for Modern Teachers. Bangkok :Academic and Research Department, Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Suwimon Wongwanich. (2001). Development of Quality Standards for Teachers and Educational Administrators. Bangkok : Chulalongkorn University.

Office of the Basic Education Commission. (2009). Core Curriculum for Basic Education 2008.Bangkok : Cooperative Assembly of Thailand.

Bunchom Srisa-ard. (2002). Preliminary Research.7th Edition. Bangkok : Suweeriyasarn.

Rattana Buason. (2008A). Qualitative Research in Education. Bangkok : Kham Smai.

Rattana Buason. (2007). Direction and Area Assessment. 2nd edition.Bangkok : Chulalongkorn University.