การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

เต็มดวง ปากวิเศษ
ภูษิต บุญทองเถิง
ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้
เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน 3) เปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน
4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนวังหลวงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 28 คน ได้
มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI
ร่วมกับชุดการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วม
มือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 8.44/89.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของ
การเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน
มีค่าเท่ากับ 0.7348 หมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 73.48 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง ความน่าจะเป็น ก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุด
การเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Somboon Tayaputch. (2002). A Development of Mastery Learing Self-Study Package on Equation and Equation Solving for Prathomsuksa 6 Students. Masters Report. Master of Education (Educational Technology) : Silpakorn University.

Tisana Khammani. (2002). Teaching and Learning Variety Forms. Bangkok : Darnsutha Printing.

Alchana Phothiphalakorn. (2002). The Development Of Mathematics Skills Package That Focuses In Cooperative Learning : Tgt Technique On Surface Area And Volume For Mattayomsuksa 3 Students. Master of Education thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Chomphicha Kritthanakarn. (2013). A comparison of learning achievement in Mathematics of Mathayomsuksa V Students on permutation and combination taught by Jigsaw, Team assisted individualization (Tai) and conventional approach. Master of Science Thesis. Chon Buri : Burapha University.