รูปแบบการดำเนินงานพัฒนาอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

ธาราทิพย์ เมืองแทน
สงครามชัย ลีทองดี
เชิดพงษ์ มงคลสิทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประชากรศึกษาประกอบด้วยผู้มีเกี่ยวข้องในการดำเนินงานประกอบด้วยผู้บริหารเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ครูผู้รับผิดชอบงานสุขศึกษา  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุน อาสาสมัครสาธารณสุขเยาวชนแกนนำ จำนวนจำนวน 55 คนกระบวนการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการวางแผนแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการและการติดตามประเมินผลเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม การสังเกตและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา     ผลการวิจัย พบว่า   


การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่  เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) แต่งตั้งคณะกรรมการอนามัยการเจริญพันธุ์ 3) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) 5) ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 6) นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 7) สรุปผลการประเมิน 8) การจัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  9 )สรุปปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานและวางแผนในการแก้ไขปัญหาในวงรอบต่อไปกระบวนการดังกล่าวนำไปสู่การมีรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ที่เหมาะสม และผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้    1) สร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ 2)  สร้างสื่อเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 3)  ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 4) สนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณซึ่งมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ โดยสร้างความรู้ความเข้าใจและความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนเป็นพื้นฐานในกระบวนการจัดการ และมีหน่วยงานรัฐระดับพื้นที่สนับสนุนงบประมาณและวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายอย่างมีดุลภาพ เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ให้ผ่านเกณฑ์และมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kamolthip Thipsungwan, Rungrat Srisuriyawet and Pornnapa Homsin. (2013). “Effects of Mother-Participating Program on Sexual Communication between Mother and Early Female Adolescents”. The Public Health Journal of Burapha University, 8 (2) , July - December.

Kullapungha Chosiwasakul. (2011). Community participation for preventing and solving problems of not ready pregnancy, Somboon sub-district,Nongmuang district, Lopburi province. Research report : Health Systems Research Institute,Nonthaburi.

TheeraphongKeawhawong. (2000). Strong Community building Process : Community : Civil society. 6th edition : Lkangnana : Khon Kaen.

Nithra Kitreerautiwong and Wutthachai Jariya. (2015). “Implementing District Health System Based on Primary Health Care Approach,”. Journal of Nursing and Health Care, 33 (3) , July-September.

Niphon Noywised. (2011). Result Of Community Participation Planning In Security Fund Management : Nontong Sub-District Kasetsomboon Distric Chaiyaphum Province. Master Of Public Health Independent study, Khonkaen University.