การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศรินรัตน์ เพียสุพรรณ
อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา ประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์  และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ  ตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) รวม 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง  อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ จำนวน 8 แผน รวมเวลาเรียน 16 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อและ  4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ  t-test  (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.56/76.85  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2)  ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  2 มีค่าเท่ากับ 0.3842 3)  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok : Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.

Niwat Sarakhun.(2002). “Fun Activities to Add Math.,” Academic, 5(3) : 45.

Wat Klang Municipal School.(2013). Report of Self-assessment of WatKlang Municipal School in 2013. KhonKaen : WatKlang School District.

Dewey,J.(1933). How We Think A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educa tive Process. Boston,MAD.C. : Heath and Co Publishers.

Tisana Khammani. (2002). Teaching Science.Bangkok : Chulalongkorn University Publishing House.

Chamathip Pornrakul. (2011). Teaching of the Theory Thinking Process and Usage. 2nd edition. Bangkok: V. printing.

Ong, Ai-Choo and Borich, Gary D. (2006). Teaching Strategies That Promote Thinking: Models and Curriculum Approaches. Singapore: McGraw-Hill Education.

Slavin,R.E., and others.(1990). “Success for All : First-year outcomes of a comprehensive plan for reforming urban education,” American Educational Research Journal, 27(1) , 255-27.

Phimphan Dechakub.(2001). Teaching that Focuses on Child Center : Concepts, Methods and Techniques of Teaching 1. Bangkok : The Master Group Management.

Tisana Khammani. (2013). Teaching science : Knowledge for Organizing Effective Learning Processes. 17th Edition. Bangkok : Chulalongkorn University.

Wimonrat Sunthonrat. (2006). Innovation for Learning. Mahasarakham : Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Mahasarakrm university.

Tisana Khammani. (2007). Teaching science : Knowledge for Organizing Effective Learning Processes. 17th Edition. Bangkok : Chulalongkorn University.

Larson, B. E., Keiper, T. A.(2007). Instructional strategies for middle and high school. New York: Routledge.

ArreeSanhachawee. (2000). Multiple Intelligence and Cooperative Learning. Bangkok : Wean Keaw.

Johnson, T. and Johnson, D.W. (1987). An overview of cooperative learning. In J. S. Thousand, R. A.Villa and A.I. Nevin. (Eds.),Creativity and collaborative learning. Baltimore, Maryland : Paul H. Brookes Publishers.

Niras Juntharajit.(2010). Learning in Thinking. Mahasarakham : Mahasarakham University Press.

Bung-on Sereerat. (2000). A Variety of Methods for Learning Management to Develop Multiple Intelligences. Bangkok :Wattana Panich.

Gardner, H. (1999). Intelligence Reframed : Multiple Intelligences for the 21th Century. New York : Basic Books.

Pitt, R.(2013) “Cooperative Learning,” in Classroom Teaching Skills. p.255-296. Editedby James M.Cooper, Belmont, CA: Wadsworth, Cengage Learning.