รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

Main Article Content

คมสัน พลศรี
สัญญา เคณาภูมิ
ภักดี โพธิ์สิงห์
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 2) ศึกษาระดับความสำเร็จการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์และ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจที่เหมาะสมให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น
มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 258 แห่ง คือ ผู้บริหารท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหัวหน้าสำนักปลัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แห่งละ 3 คน จำนวน 774 คน ได้มาจากการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ วิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม Stratified sampling และวิธีวิจัยคุณภาพ ใช้การประชุมระดมสมองซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น
ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าสำนักปลัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม
มาตราส่วน 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ ใช้การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัด
ร้อยแก่นสารสินธุ์โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ย
จากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องด้านวัฒนธรรมองค์การแบบทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมด้าน
การมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการเครื่องมืออย่างพอเพียงกับด้านการสนับสนุนทาง
การเมือง 2) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับระดับความสำเร็จการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่ม
จังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน
ระดับปานกลาง 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ดังนี้ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความ
สงบเรียบร้อยด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตและด้านที่มีค่า
เฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการปฏิบัติ
ตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X10) ด้านการจัดการเครื่องมืออย่างพอเพียง (X5) ด้านการสนับสนุนทางการเมือง (X11)
ด้านความพร้อมของเทคโนโลยี (X12) และด้านการมีกฎเกณฑ์รองรับการปฏิบัติงานที่ชัดเจน (X7) ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนน
ดิบ คือ .252, .158, .182, .130 และ .139 ตามลำดับค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ .032, .029, .037, .035 และ
.039 ตามลำดับ ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 50.80 (R2 = 0.508, F = 158.548) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) รูปแบบ
การพัฒนาการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ซึ่งมีแนวทางพัฒนา
ได้แก่ (4.1) มิติเชิงนโยบาย โดยการถ่ายโอนภารกิจต้องสอดคล้องกับงบประมาณการถ่ายโอนภารกิจต้องเป็นการถ่ายโอนที่แท้จริง ยึดความ
ต้องการของประชาชนเป็นหลัก จัดงบประมาณต้องมากบั ภารกจิ จัดงบประมาณแบบมงุ่ ผลสมั ฤทธิ ์ และปรับปรุงระเบยี บกฎหมายใหทั้น
สมัย (4.2) มิติบุคลากร โดย พัฒนาบุคลากรท้องถิ่น พัฒนาภาวะผู้นำ แก้ไขปัญหาอุปถัมภ์ ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ปฏิบัติ และ
พัฒนาความก้าวหน้าของบุคลากร (4.3) มิติกระบวนการบริหาร โดยต้องบูรณาการกับทุกฝ่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบริหารงาน
แบบมีส่วนร่วม การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จัดงบประมาณต้องสอดคล้องกับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บริหาร
ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล (4.4) มิติภาคประชาชน โดยต้องสร้างความร่วมมือจากประชาชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาคุณ
ภาคชีวิตของประชาชน สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนและการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Local Administration. (2010). Operational standards of Child Development Center ofLocal government. Bangkok : Ministry of the Interior.

Rungsan Injan (2009). Factors affected to the progression the mission Transfer for Local government; Case Study of Sub-district Administration Organization in NakhonPathom. Ph.D. Thesis, Sripatum University.

Bunchom Srisa-ard, (2002).Preliminary Research. Bangkok : Suriyasarn.

Kamolporn Kanlayanamit. (2009).The Implementation of Happy Policy in Nonthaburi. Ph.D. Thesis, Ramkamheang University.

Sirithep Weeraphattarakul.(2015). Performance Development Model that Affecting the Operation of Sub-district Municipal in Buriram Province. Doctor of Public Administration Thesis : Rajabhat Mahasarakham University.

Ratchanee Trakulwijit. (2007). Evaluation of Parcel Work Operation, Maejo University.Master of Public Administration Thesis : Chiengmai University.

Thodsaporn Sirisampan. (2000).Thailand's Bureaucratic Development Strategy to 2000 : Quality development, Increase, Productivity and Measurement of Effectiveness,” Journal of Civil servants, 45 (1)1 : 3-12.

Pakdee Phosing. (2011).Factors affecting the Success of the Alcohol Control Policy Implement. Ph.D. Thesis, Sripatum University

Preecha Suwannapoom,. (2011).“Effective management Model of Sub-district Administration Organization in the lower northern provinces, Group 1, Thailand,” Journal of the Researchers' Association, 16(3) : 102-117.

Chaianan Samudwanit. (1993). The problem of Thai political development. Bangkok : Chulalongkorn University.

Phichayapha Yuenyarw (2009). Human Resource Management Model in Higher Education Institutions. Ph.D. Thesis, Silpakorn University.

Woradek Janthasorm. (2556).Theory of public policy implementation. Bangkok : Researchers' Association.

Sasakorn Chaikhamharn. (2007). Factors Affecting the Organization of Learning ofthe Basic Education School. Ph.D. thesis, Silpakorn University.

Torlarp Arunwaree (2015). The Public Service Development Model of Local government in Province Group, on the Upper Northeastern1. Doctor of Public Administration Thesis, Rajabhat Mahasarakham University.

Thippawadee Meksawan (2002). ThreeCoordinate inGood governance for All of Power to Build a Good Social and Political Service System. Nonburi : Civil Service Development Institute, Office of the Civil Service Commission.

Thaweethong Hongwiwat,. (1984). People's participation in development. Bangkok : Saksopon Printing.

Tin Prutchaphuek. (2000). Organization Theory. Bangkok : Thaiwattanapanit.

Saowalak Nikornphitthaya. (2015). Human Capital Development of Sub-district Administration Organization in the Rio-Kjean-Sarn-Sin Province Group. Doctor of Public Administration Thesis, Rajabhat Mahasarakham University.

Jeera Hongladalom. (2012).Human Capital of the Thai People Supporting the ASEAN Community.. Bangkok : Chira Academy Pub.