รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ไทยกูย ไทยเขมร และไทยลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

Main Article Content

ภัทระ อินทรกำแหง
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และ3) ศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 136 รูป/คน ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาว ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เริ่มตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 3,000 ปีที่มีร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์ได้อาศัยอยู่มาก่อนและเมื่อ 2,500 ปีต่อมาเริ่มมีมนุษย์มาตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนที่มีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากอยู่ในเขตเส้นทางการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าภายในภูมิภาคและทางไกล มีทรัพยากรที่สำคัญในการค้าคือเกลือ และโลหะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของรัฐโบราณในอดีต จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมทวารวดี ขอมและล้านช้าง มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ได้แก่ การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี การท่องเที่ยวศึกษาประเพณี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น อาหาร การแต่งกาย ประเพณีบวชนาคช้างของชาวกูย ประเพณีแซนโฎนตาของชาวเขมร ประเพณีสู่ขวัญข้าวของชาวลาว การท่องเที่ยวศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การเลี้ยงช้างของชาวกูย การต้มเกลือของชาวเขมร และการปั้นหม้อดินของชาวลาว การท่องเที่ยวนิเวศวัฒนธรรม ได้แก่ การล่องเรือชมธรรมชาติแม่น้ำมูล การนั่งช้างชมภูมิทัศน์ป่าชุมชน การเดินป่าชมต้นยางใหญ่ 300 ปีและปลูกกล้ายาง คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและผสมผสานการการนับถือผีปู่ตา ผีเจ้าที่และผีบรรพบุรุษ

  2. สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ พบว่า ถึงแม้ว่าชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ยังไม่เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ขาดการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านแหล่งข้อมูล บุคลากรและด้านบริการ

  3. รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาว ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ พบว่า ควรมีการจัดการแบบองค์รวม คือกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้นำในการดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันอุดมศึกษา มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล หลักเศรษฐกิจพอเพียงและตามแนวทางของศาสตร์พระราชา

โดยสรุป การจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาว ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของทุกภาคที่เกี่ยวข้องและจะเกิดประโยชน์ในด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน สมควรที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะให้การสนับสนุนด้านการเงิน และสถาบันการศึกษาให้ความรู้ด้านการอบรมวิชาการต่อโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Department of Tourism. (2015). Summary of tourists situation A.D. 2015. Bangkok : Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports.
[2] Ministry of Tourism and Sports. (2011). National Tourism Development Plan A.D. 2012 – 2016. Bangkok : Office of the Board of Directors of the national tourism policy.
[3] Deputy Permanent Secretary, Ministry of culture. (2011). Action Plan 4 years (A.D. 2012 – A.D. 2015). Bangkok : Ministry of culture.
[4] Walipodom, Srisak. (2003). “From Archaeological Perspective of Drought area Southeast Asia”, in Tungkula Salt kingdom 2,500 years, From the early days of the USSR. The rich, fragrant rice. Bangkok : Matichon Public Company Limited.
[5] Roadrungsat, Pimrawee. (2010). Community – Based Tourism. Bangkok : Odeon Store.
[6] Satsngwn, Ngam. (1996). Anthropological Research. 3rd edition. Bangkok : Chulalongkorn University Printing house.
[7] Corbin, J., and Strauss. (2008). Basic of Qualitative Research. London, England : Sage.
[8] Creswell, J. W. (2009). Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches. 3rd ed. Los Angeles: Sage.
[9] ongthet, Sujit. (2012). Where is Roi Et from?. 2rd edition.Bangkok : Maekamphang.
[10] Saengngam, Amkha. (2010). A Study of Potentials of Resources and Cultural Tourism Management by the Community for Tourism Promotion in the Kula Ronghai Plain Area.The Doctor of Cultural Science. Faculty of Cultural Science. Mahasarakham University.
[11] Levi-Strauss, C. (1969). The Elementary Structures of Kinship. Revised edition translated by James Harle Bell, John Richard Von Sturmer, And Rodney Needham (Ed.). London, Eyre And Spottiswoode.
[12] Teshaartik, Sompan. (1988). Dreaming for the village.Bangkok : Communication Arts. Sukhothai Thammathirat University.
[13] Kasai, Praweena.,and Phansita, Nalinee. (2016). The Needs of Training and Development and Career Planning of DusitThani College’s Instructors, Journal of DusitThani College, 10(2), 77-92.
[14] Jittargwattana, Boonlert. (2005). Sustainable tourism development. Bangkok : Thammasat University.
[15] Kaewpakdee, Thanom. (2011). The Development of Cultural Tourism Management Potentiality of Local Administrative Organizations in the Central Thachin River Basin Region. The Doctor of Cultural Science. Faculty of Cultural Science.Mahasarakham University.