รูปแบบการจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคอีสานตอนกลาง

Main Article Content

สุทธิรักษ์ ประจงกูล
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคอีสานตอนกลางกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากครู นักเรียน นักวิชาการและประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 21 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 25คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป  จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกต แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม (Cultural Qualitative Research) นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้อง  แล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาควรมีรูปแบบดังนี้ 


  1. เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ควรแบ่งพื้นที่ในการจัดแสดง และพื้นที่บริการ มีคำอธิบายเพื่อการสื่อความหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มีป้ายแนะนำสถานที่ต่างๆ ควรจุดพักผู้เข้ามาชม หรือมีศาลพักผ่อน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค ควรห้องน้ำสะอาด มีที่ทิ้งขยะ ที่จำหน่ายของที่ระลึก ในการนำเสนอทางวิชาการ ควรมีการบริการแจกเอกสารความรู้ แผ่นพับเกี่ยวกับแหล่งทัศนศึกษา และจัดหามัคคุเทศก์แนะนำสถานที่

  2. กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม ในด้านบริเวณสถานที่ควรมีป้ายอธิบายความหมายของปราสาทขอม ซึ่งมีรูปเคารพ หรือเทวรูปต่างๆ ต้องจัดให้มีผังแสดงรวมของกู่สันตรัตน์ ควรมีสถานที่จำหน่ายอาหาร การจัดให้มีจุดหรือสถานที่สำหรับถ่ายภาพที่ระลึกกับตัวปราสาท มีเอกสาร แผ่นพับสำหรับแจกผู้มาศึกษา ควรมีการจัดเก็บค่าเข้าชม เพื่อบำรุงสถานที่

  3. บ่อพันขัน จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้งและห่างไกลชุมชน มีเส้นทางที่เข้าถึงยาก ควรมีป้ายบอกทางเป็นระยะ พื้นที่เหมาะในการค่ายวิชาการ ควรสร้างเส้นทางการศึกษาเชื่อมโยงแหล่งโบราณคดีและแหล่งธรรมชาติใกล้เคียง ในด้านการจัดแสดงควรเน้นการนำเสนออัตลักษณ์ของบ่อพันขันที่เชื่อมโยงกับทุ่งกุลาร้องไห้ และต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน หรือมีให้ชุมชนมีส่วนในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

โดยสรุป การจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ และส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ นักเรียน และสมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน อันเป็นการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่และใช้วิถีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sarthit Krittalack. (2008). Thung Kula Ronghai ancient remain : The Participation of community in Preservation, Restoration and Development. Doctor of PhilosophyThesis. Mahasarakham University.Mahasarakham.

Adisorn Sakul. (2011). History of Thailand. Bangkok : Advertising Arts.

Noawanit Songkram. (2014). Field trips and virtual field trips for active learning .Bangkok : Book Center of Chulalongkorn University.

Office of the Basic Education Commission. (2013). The implementation of the policy to support the cost of education in the fiscal year 2013. Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Songkoon Chantachon. (2014). Cultural Qualitative Research(Fieldwork). Kalasin : Prasan Printing.

Thanik Lertcharnrit. (2011).Cultural Resource Management. Bangkok : kledthai.

Boonlerd Cittangwatthana. (2005). Passenger transport for tourism. Bangkok : Tourism Authority of Thailand.

Chantheng Meak. (2009).Proposed guidelines for utilizing community learning resources in social studies instruction in secondary schools : a case study of Kampong Thom Province, Kingdom of Cambodia. Master of Education Thesis.Chulalongkorn University. Bangkok.เมียก

Thitisan Parksukee. (2004).Effects of the visual arts teaching by integrating the field trip management upon learning achievements of lower secondary students. Master of Education Thesis. Chulalongkorn University. Bangkok.

Anchalee plernmalai. (2013).The development of a museum for life long learning resources : a case study of An Archives and a Museum of Thai Nursing. Master of Arts Thesis.Silpakorn University. Bangkok.

Kittisak Chexjumroon. (2007).Antiquities of the MueangFa Dad Song Yang in Kalasin Province. Kalasin : Kamalasai District Cultural Office.

Jirat Apeevitteepakorn. (2015).Cultural Tourism Resources Management of Ban PhonKhumMuang District, Kalasin Province. Master of Arts Thesis.Mahasarakham University.Mahasarakham.

Thanakorn Phibanrak. (2016).Cultural Tourism in Chanthaburi Province: a Model of Potential Development with Community Participation. Doctor of Philosophy thesis. Mahasarakham University. Mahasarakham.

Thanat Bhumarush. (2016). Management approach to learning Bansilapin locality and related area Klongbangluang community PhasiChareon District Bangkok. Master of Arts Thesis. Silpakorn University. Bangkok.

Songrit Sangwut. (2012). Management Model for the Culture Community Distric Tourism 3. Doctor of Philosophy Thesis. Mahasarakham University. Mahasarakham.

Krittaya Toeypho. (2016).Homestay Culture : Developing Model of Management Tourism by Community Wang Nam Khiao District NakhonRatchasimaProvince. Master of ArtsThesis.Mahasarakham University.Mahasarakham.

Natcharatch Sarahongsa. (2014). The Cultural Potential of Skaw Karen : Dynamic Management of Community Based Cultural Tourism in Mae Hong Son Province. Doctor of Philosophy Thesis. Mahasarakham University.Mahasarakham

Bunchead Meekul. (2012). A Proposed Model Using Learning Resources in the Community in Education at Schools under Phranakhon Si Ayutthaya Municipality. Master of Education Thesis. Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Phranakhon Si Ayutthaya.

SaowalakJiragitsirikun. (2014). Efficiency management for learning resources and cultural tourism of Lawa’s Ethnic groups in Ban Dong Community, Mae La Noi district, Mae Hong Son province through community paricipation.Master of ArtsThesis.Chiang Mai University.Chiang Mai.