รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ลิขิต ประจักกัตตา
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
ยุภาพร ยุภาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาล


ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม  โดยศึกษาในพื้นที่จังหวัด มหาสารคาม วิธีการดำเนินการดังนี้


ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการวิจัยเอกสาร ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลใน จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน  95  แห่ง  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วจึงดำเนินการสุ่มแบบอย่างง่าย ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 380 คน จากการคำนวณของสูตร Taro Yamane เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเส้นตรง  (Multiple Linear Regression) โดยใช้การวิเคราะห์แบบกำหนดตัวแปรเข้าไปในสมการทั้งหมด โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ ระยะที่ 3 เป็นการสร้างรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม และทำการตรวจสอบยืนยันรูปแบบ โดยวิธีการตรวจสอบ


จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย  ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร (426) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ (296) ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ (172) ปัจจัยด้านการตัดสินใจ                (- 0.126) ซึ่งปัจจัยดังกล่าว มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.781 ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 61.00 2) รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ 2.1) การพัฒนาด้านการติดต่อสื่อสารประกอบด้วย การพัฒนาสื่อสารที่ชัดเจน  แสดงกิริยาอย่างเหมาะสม  กล้าแสดงความคิดเห็น สุภาพอ่อนโยนรู้จักสังเกตและเรียนรู้บุคคลอื่นและมนุษย์สัมพันธ์ดี 2.2) ด้านบุคลิกภาพ  ประกอบด้วย การพัฒนาการปรับตัวเข้ากับสังคมการแต่งกายสุภาพ  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พัฒนาความรู้ความสามารถเสมอ มีร่างการแข็งแรง พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีทักษะในการปฏิบัติงาน 2.3) ด้านความรับผิดชอบ ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพของงานการติดตามงานอยู่เสมอ  การรับผิดชอบต่อองค์การ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อตนเอง และการยอมรับความผิดพลาด 2.4) ด้านการตัดสินใจ ประกอบด้วย การพัฒนาการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความกล้าตัดสินใจ การรู้จักวิเคราะห์ทางเลือก การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และการวางแผนในการตัดสินใจ 3) ผลการยืนยันรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญยืนยัน พบว่ารูปแบบมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Wijittraporn Chaikhot. (2007).Evaluating Governance based on Good Governance of Borabue Municipality, Mahasarakham Province. Independent Study of Master of Public Administration, Mahasarakham University.
[2] Office of the Government Development Board in cooperation with the Foundation for Law Research Institute. (2003).Strategic Plan for Thai Official Development ; Year 2003 –2007. Bangkok:Office of the Government Development Board in cooperation with the Foundation for Law Research Institute.
[3] Chalard Kharmchaung(1999). Local political development; Case study of Sub-district Administrative Organization, Jungharn District, Rio-et Province”Master of ArtThesis, Mahasarakham University.
[4] Department of the Interior (2004). The Child and Youth Development Standards.Bangkok:Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
[5] Adul Wiriyawetchakul.(2010).Quality Indicator Index of Graduate Student in Higher Education. 2nd ed.Bangkok:Graduate School, Mahidol University.
[6] Phaithoon Sinlarat. (2010). Teaching Strategies According to the Standard Framework of Higher Education..Bangkok:Chulalongkorn University.
[7] Janya Siwanon. (2005).The teachingDocument of Social Psychology. Bangkok:Department of Psychology ;Kasetsart University.
[8] Local Office of MahaSarakham. (2015). Annual Report2015. MahaSarakham : MahaSarakham Provincial Administrative Organization.
[9] Taro Yamane. (1973). Statistics An Introductory Analysis. New York : Harper & Row.
[10] Rungsan Singhalert. (2008). Social Research Methodology. MahaSarakham : RajabhatMahaSarakham University.
[11] Cronbach, lee Joseph. (1970).Essentials of Psychological Testing.New York : Harper and Row.
[12] Soawalak Kosolkittiamporn (2014).“Development of Effective Administrative Competencies of Tambon Administration Executive in MahaSarakham Province,” Chopayom Journal, 25 (2) : 109 – 124.
[13] Siriporn Phongsrirot. (1997).Organization and Management.7th ed. Bangkok:Technical Partnership Ltd.
[14] Noppongs Bunyajitradulya. (1997). Applying the Good Governance in the Sub-district administrative Organization according to People’s Opinion in Chiangmai Province.Master of Public Administration Thesis, Chiang Mai University.
[15] Weera Phoorahong. (2007).Desirable Characteristics of the Mayor on the Voters' Attitude : Case Study of Bangmueang Municipalities, Muang District, SamutPrakarn Province.Master of Public Administration Thesis, Burapha University.
[16] Phutcharin Thidkul. (2012).Public’s Opinion towards Leadership of Community Committees in MueangKalasin Municipality, Kalasin Province. Master of Public Administration ThesisRajabhatMahaSarakham University.
[17] Kittima Preedeedilok. (1994). Education Philosophy.2nd ed. Bangkok :Department of Educational Administration, Faculty of Education, Srinakharinwirot University.
[18] Daft.. (2011).The Leadership Experience. 3rded. Canada : Thomson Corporation.Inc.
[19] Yukl. (1994). Leadership in Organization. New Jersey : Prentice - Hall.
[20] Somsak Promdue. (2016).“Policy innovation for Public serviceofSub-district Administration OrganizationIn the Middle East region.,” Journal of Social Science, 9 (2) : 9 – 24.
[21] Thawatchai Phong-uan. (2011).Public opinion on Leadership Features of President of Wongluang Sud-District Administrative Organization, Phopisai District, Nongkhai Province.Master of Public Administration Independent Study, RajabhatMahaSarakham University.
[22] Phutcharin Thidkul. (2012).Public’s Opinion towards Leadership of Community Committees in MueangKalasin Municipality, Kalasin Province. Master of Public Administration ThesisRajabhatMahaSarakham University.
[23] Weerawat Punnitamai. (2001).Knowledge Development.Bangkok :TheTheeraFortress Literary.
[24] Somphis Wichayachien. (1999).Head is not Tail.Bangkok:Nammee Book.
[25] Kawee Wongphud. (1999).Techniques for Building theLeadership.10th ed. Bangkok :PlewAksorn.
[26] Bateman. (1993). “Proactive behavior: Meaning, impact, recommendations,”Business Horizons. 42(3), 63–70.
[27] Sukhummarn Prayuknitiwat. (2007). Desirable leadership in View ofCustomer Relationship Officer of Capital City of TOT Public Company Limited.Master of Business Thesis,ThonburiRajabhat University.