การพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

นราวิชญ์ ศรีเปารยะ
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน      เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 และ 3) รับรองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา หลักสูตร 5 ปี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1029301 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน  โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบจำลองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  2)แผนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและ 4.แบบประเมินรับรองแบบจำลองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/ E2)


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก และ 13 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ 1.1 บริบท (Context) 1.2 หลักสูตรและเนื้อหา 1.3 ผู้เรียน 1.4 ผู้สอน 1.5 สภาพแวดล้อม 1.6 แผนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน

  2. กระบวนการ (Process) ได้แก่ 2.1) ทดสอบก่อนเรียน 2.2) ปฐมนิเทศ ประกอบด้วย 2.2.1) แนะนำวิธีการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2.2.2) แนะนำการใช้โปรแกรมและเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร 2.2.3) แจ้งวัตถุประสงค์การเรียน 2.2.4) ชี้แจงเนื้อหาและชี้แจงกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ 2.2.5) ชี้แจงการติดต่อผู้สอนเมื่อมีปัญหา 2.2.6) แบ่งกลุ่มย่อยและสร้างกลุ่มติดต่อสื่อสาร 2.3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ประกอบด้วย  2.3.1) เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก  ผู้สอนได้จัดทำ 2.3.2) เตรียมแหล่งการเรียนรู้ เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา  2.3.3) ขั้นตอนการสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย 2.3.3.1) ขั้นตอนการคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน 2.3.3.2) ขั้นการวางแผน 2.3.3.3)  ขั้นดำเนินงาน 2.3.3.4) ขั้นการเขียนรายงาน          2.3.3.5) ขั้นนำเสนอผลงาน 2.4) ทดสอบหลังเรียน

            3. ผลลัพธ์ (Output) ได้แก่ 3.1) สมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา ประกอบด้วย 3.1.1 สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 3.1.2 สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 3.1.3 สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 3.2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ 3.3) ประสิทธิภาพของระบบการสอน
            4. ผลย้อนกลับ (Feedback) 4.1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.52/82.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้ผลการประเมินสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา   รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก  4.2.) ผลการประเมินรับรองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ  การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูจากผู้ทรงคุณวุฒิ  อยู่ในระดับเหมาะสมมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiyong Phromwong.(1977). Teaching media system. Bangkok : Chulalongkorn University.

Lall GR, Lall BM. (1983). Ways children learn. Illinois: Charles C. Thomas Publishers.

Bruner J.S. (1966). The Process of Education.New York : Vintaga Book.

Piaget,J. (1974). The Origins of Intelligence in Children. New York: W.W.Norrion.

Trakul Chitwattanakorn. (2012). A Competency Development Framework for Educational Innovation and Technology in Accordance with the Professional Standards of Vocational Instructors in Business Administration. Doctor of Business Administration Thesis : King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Wanicha Sakorn. (2016). Guidelines for the development of information technology competenciesfor Students of the Faculty of Education, Rajabhat MahaSarakham University. Doctor of Philosophy Thesis: Rajabhat Maha Sarakham University.

Nattha Phiwma, Prisana Mutchima, and Saisuda Pantrakul. (2016). “It Competency Development Guidelines For Suan Dusit University Students,”Panyapiwat Journal, 8 Special Issue August.

Thorndike, E.L. and Barnhart, Clarence L. (1957). Hihg School Dictionary. Chicago : Scott Foreman.