การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 ศึกษาสภาพปัจจุบันและวิธีการเสริมสร้างทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 เป็นการวิจัยและพัฒนาการดำเนินการเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ประเมินองค์ประกอบ
ครูผู้นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 จำนวน 320 คนใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
แบบสอบถามและระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้
แก่แบบประเมินสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียร์สันสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 มีจำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทักษะความยืดหยุ่นและ
การปรับตัว 2) ทักษะการริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง 3) ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม 4) ทักษะการเป็นผู้สร้างหรือ
ผู้ผลิต 5) ทักษะภาวะผู้นำและความรับผิดชอบและตัวชี้วัดจำนวน 31 ตัวชี้วัดวิธีการเสริมสร้างทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษ
ที่ 21 ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม3) การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง 4) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานและ
5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. สภาพปัจจุบันของทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางสภาพที่พึงประสงค์ของของทักษะ
อาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. โปรแกรมเสริมสร้างของทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 ประกอบ
ด้วยหลักการและเหตุผลความมุ่งหมายโครงสร้างขอบข่ายเนื้อหาวิธีการพัฒนาสื่อและการวัดและการประเมินโปรแกรมเสริมสร้าง
ของทักษะอาชีพและชีวิตของครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Wijarn Phanit. (2012). The way to create learning for students in the 21st century. Bangkok : Sodsrisaritwong Foundation.
Ministry of Education.. (2004). Government Regulations, Teachers and Educational Personnel Act 2004 . Bangkok : Ministry of Education.
Prachid Sakunaphat and Udom Choiekeewong. (2006). Important day. Bangkok : Wisdom.
KaisitPelrin, Prayuth Soosorn and SomritKarngpeng. (2009). “Development of academic leadership indicators for basic school administrators,” Journal of Educational Administration KhonKaen University, 5 (2) : July-December2009 p.56-67
Partnership for 21st Century Skills. (2011). 21st Century Support Systems. Retrieved August 11, 2017, fromwww.21stcenturyskills.org/route21/index
Anucha Somabud. (2013). Concepts of learning management for teachers in the 21st century.[4 April 2017] http://www.teacherweekly.wordpress.com
Sawai Phukkharw. (2013). The 21st Century Skills. [4 April 2017] http://web.chandra.ac.th/blog/wpcontent/uploads/2015/10/ทักษะแห่งศตวรรษที่-21-พับ.pdf
Suwit Moolkham. (2004). Complete machine for thinking. 3rd edition. Bangkok :picture prints
Thanet Khamkerd. (2007). Guidelines for promoting moral and ethical students. Bangkok : Faculty of Education in Educational Administration.
Taweesak Sawangmek, Panya Sungkawadee, Chatruprachewin and Pakorn Prachanban. (2014). “The Strategies of Sport Management for Health Promoting of Student in State Institutions of Higher Education,” Journal Of Education Naresuan University, 16(2), 149-152.
Arporn Phoowittayaphan. (2009). Individual planing. Bangkok : HR center.
Megginson, L. (1972). Personnel : A Behavioral Approach to Administration. Home, Wood, Illinois : Irwin.
Mc Beath, G. (1997). Handbook of Human Resource Planning. New Delhi: Beacon Book.
Priyanka Behrani. (2016). “Implementation Aspects of Life Skills Education Program in Central Board of Secondary Education Schools,” International Educational and Research Journal, 2(3) ,12.
Francis, A. and A.O. John. (2014). “Life Skills Education In Kenya : An Assessment of The Level of Preparedness of Teachers and School Managers In Implementing Life Skills Education In Trans Nzoia District,” Dissertation Abstracts International, 9(2) , 32- 44.