การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องสูตรและฟังก์ชั่นในโปรแกรมสำเร็จรูป

Main Article Content

ภาณุพงศ์ ไชยสุข
ประวิทย์ สิมมาทัน
ทรงศักดิ์ สองสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องสูตรและ
ฟังก์ชั่นในโปรแกรมสำเร็จรูป 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่
5 เรื่องสูตรและฟังก์ชั่นในโปรแกรมสำเร็จรูป ระหว่างคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่
มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องสูตรและฟังก์ชั่นในโปรแกรมสำเร็จรูป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกุดกว้างสวาสดิ์วิทยา อำเภอเขาวง จังหวัด
กาฬสินธุ์ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) บทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องสูตร
และฟังก์ชั่นในโปรแกรมสำเร็จรูป 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่
การหาประสิทธิภาพบทเรียนตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติ t - test
(Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องสูตรและฟังก์ชันในโปรแกรมสำเร็จรูปที่ผู้วิจัยพัฒนา
ขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.45/82.43 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย
บทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการ
เรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องสูตรและฟังก์ชัน ในโปรแกรมสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนเฉลี่ยระดับ
ความพึงพอใจที่ 2.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 อยู่ในระดับที่มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Ministry of Education. (2009). Core curriculum for basic education 2009. Bangkok : Assembly printing House.
[2] Office of the National Economic and Social Development Board. (2011). The 11th National Economic and Social Development Plan 2012-2016. Bangkok : Sahamit Printing and Publishing.
[3] Lin Cheng, Peng Wang, Xiao Feng. (2008). Online short-term reliability evaluation using fast sorting technique. IET Generation, Transmission & Distribution, 2(1) , 139-148.
[4] Sterling. Jennifer Elizabeth. (2002). “Reinventing Music theory Pedagogy : The Development and Use of a CAI Program to Guide Students in the Analysis of Musical Form,” Dissertation Abstracts International, 63(6) , 2044-A.
[5] Sirasith Jumpakharw. (2007). The development of web-based collaborative learning using STAD model in computer programming. Bangkok : King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok.
[6] Pranorm Phookan. (2007). Comparison of achievement and attitude towards Thai language learning on words and functions of wordsfor Prathomsuksa 4 Students Using STAD Techniques and Normal Teaching. Bangkok : Thepsatri Rajabhat University.