การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยในการจัดบริการสาธารณะกรณีศึกษาเทศบาลนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ยุวรี ณ เสน
วิษณุ สุมิตสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการบริการสาธารณะ ของเทศบาลนครใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการบริการสาธารณะ 3) เพื่อ
เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบริหารกิจการสาธารณะในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยให้มีประสิทธิภาพตามบริบท
ทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี จำนวน 4 คน ปลัดเทศบาล จำนวน 8 คน
รองปลัดเทศบาล จำนวน 8 คน หัวหน้าสำนักปลัด จำนวน 4 คน ผู้อำนวยการกอง จำนวน 16 คน ข้าราชการ/พนักงานเทศบาล จำนวน
112 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 8 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 40 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล จัดทำเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยขอความอนุเคราะห์ผู้เชียวชาญตรวจสอบแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์
จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการบริการสาธารณะ ของเทศบาลนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 4
ด้าน คือ 1. ด้านการจัดบริการสาธารณะ 2. ด้านการจัดการองค์กร 3. ด้านการจัดการด้านการศึกษา 4.ด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพปัญหาและอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในการจัดการบริการสาธารณะของเทศบาลนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ล้าสมัย
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ มีความซํ้าซอน จึงยังใช้งานไม่ค่อยได้เต็มประสิทธิภาพ บุคคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่เพียงพอ และขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะสูงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่เพียงพอ และมีอย่างจำกัด และขาดความคล่องตัวในการจัดหาครุภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เนื่องจากค่าใช้จ่ายและ
การลงทุนในการจัดซื้อค่อนข้างสูง เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบริหารกิจการสาธารณะในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทัน
สมัยให้มีประสิทธิภาพตามบริบททางเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการอบรมในหน่วยงาน
ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ควรมีการกำหนดเป้าหมายและทิศทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงาน และควรมีการกำหนดนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงกับความ
ต้องการใช้งานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Suphawattanakorn Wongthanawasu and Others.(2014). Local Government Reform under the New Public Affairs Management Paradigm). KhonKaen.Klung Nana Wittaya Printing.

Suphawattanakorn Wongthanawasu and Thatchalerm Sutthiphongpracha. (2013). Analysis of the Capacity and Preparedness of Local Administrative Organizations and Citizens in Health Management. KhonKaen. Klung Nana Wittaya Printing.

Civil Service Development Committee. (2008).Strategic Plan for Thai Government Development (2008-2012). Bangkok : Mission to disseminate and support participation in bureaucratic development: Office of the Thai Government Development Commission.

Ministry of Information and Communication Technology and Thammasat University Research and Consultancy Institute (2014). Information and Communication Technology Master Plan (Issue 3) of Thailand 2014-2018. [Online] www.itc.ddc.moph.go.th/file/it_plan_58.pdf

Khuanruethai Suriyong. (2009). Service quality of Big C Super Center in Nonthaburi Province. Master’s thesis (Management): Sukhothai Thammathirat Open University.

Nuengnid Kalarat (2011). Increasing the efficiency of information technology usage for operations of personnel of subdistrict administrative organizations in Ranod District, Songkhla Province. Master of Public Administration Inde pendent Study (Local Government) : College of Local Administration, Khonkaen University.

Awuth Ruenpakpoj and Sekson Yongvanit. (2010). Knowledge Skill and attitude in information management for planning of local administrative organization : a case study in Amphoe Muang, KhonKaen Province. Master of Arts Thesis (Development Administration) KhonKaen University.