การออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการวัดผลการเรียนรู้

Main Article Content

ฟารีดา หีมอะด้ำ
รัตนะ บัวสนธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอสาระความรู้ของการศึกษาและกระบวนที่เกี่ยวกับการออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการวัดผลการเรียนรู้ (The Creative design of learning measurement innovation) ว่าการจัดการการศึกษาหรือการจัดการเรียนการสอนนั้นมีนวัตกรรมทางการวัดผลการเรียนรู้อะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยวิเคราะห์จากสภาพการณ์ปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดว่าสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้จัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย รวมทั้งการวัดและประเมินผลที่หลากหลายเช่นกัน เนื่องด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)ทำให้ผู้สอนเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบปกติและแบบออนไลน์ ทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีความสำคัญในการศึกษาเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนต้องรู้วิธีทางการวัดผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยที่ผู้สอนสามารถออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการวัดผลการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพได้โดยดำเนินตามขั้นตอนการออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการวัดผลเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาประเภทของนวัตกรรมทางการวัดผลเรียนรู้ 2) ศึกษาวิธีการสร้างนวัตกรรม 3)สร้างนวัตกรรม 4) ทดลองใช้ในการจัดการวัดผลการเรียนรู้และปรับปรุง5)ประเมินผลในการออกแบบนวัตกรรม และ6) รายงานผลการทดลองใช้นวัตกรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติยา วงษ์ขัน. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D)และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR).เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)” รุ่นที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี:อุบลราชธานี.
ณัชชา มหปุญญานนท์ .(2551).วิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา(0308371).เอกสารประกอบการสอน.ภาควิชาการประเมินผลและวิจัย.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ณัฐพล รำไพ. (2563). นวัตกรรมการสอนและการประเมินผลออนไลน์.เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการออนไลน์.พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เปรื่อง กุมุท. (2563). ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดของ รศ. ดร. เปรื่อง กุมุท.สืบค้นจาก. http://mediathailand-ictedu.blogspot.com/2012/04/26.html.
มาเรียมนิลพันธ์.(2561). การพัฒนานวัตกรรม.เอกสารประกอบโครงการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่นก่อนแต่งตั้งให้เลื่อนสู่วิทยฐานะเชี่ยวชาญรุ่นที่1.นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัฐพลประดับเวทย์.(2563). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีตามแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม.Veridian E-Journal,Silpakorn University. 10(3), 1051-1065.
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2559). รายงานการติดตามและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบที่ใช้ในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
KunanyaBenjawan.(2018). Innovation management model of world heritage city museum on historical park for creative tourism in the lower part of Northern Thailand.PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research.7(1), (110-120).
Nicholls and George. (1983). Managing Educational Inovation. สืบค้นจาก: https://books.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=x31aDwAAQBAJ&oi=fnd&pg=PT10&dq=Nicholls+and+George,+1983+:+4+managing+education+Inovation
Wisdom Max Center. (2020). Learning. สืบค้นจากhttp://www.wisdommaxcenter.com/detail.php?WP=oGW3ZRjkoH9axUF5nrO4Ljo7o3Qo7o3Q.