การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อรพรรณ บุตรวัน
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 30 คนที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCSเรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 จำนวน 11 แผน 2)แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบอัตนัยจำนวน 6 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85.13/85.69 2) การเปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และระดับทักษะอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กีรติเอ้งฉ้วน. (2559). ผลการการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว” ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ. วารสารออนไลน์บัณฑิตวิทยาลัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2052.ru.
จีราวะดี เกษี. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(70),149-158.
เจนจิรา สรสวัสดิ์. (2561). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารคณิตศาสตร์โดยสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์,63(3), 35-51.
แทนไทย ชัยคำภา. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ SSCS ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,6(3), 465-482.
นริศรา สำราญวงษ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,19(1), 254-264.
โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ. (2561). แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ.งานวิชาการ โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ.วรรณวรางค์ น้อยศรี. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 30-38.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.สืบค้นจากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/IndividualWeb/Mobile/frmStdGraphScoreMobile.aspx.
อภิณห์พร มานิ่ม. (2557). การใช้รูปแบบเอสเอสซีเอสเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อัญชนา แข่งขัน. (2558). ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และการทำงานกลุ่มโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
อัฟฟัต กาเดร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบ SSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร AL-NUR. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 12(22), 23-36.
Anderson, K. B., &Pingry. (1973). Problem-solving in mathematics: Its theory and practice. Washington, D.C.: The national Council of Teachers of Mathematics.
Chiappetta, E. L., & Russell, J. M. (1982). The Relethionshipamong Logical Thinking, Problem Solving Instruction, and Knowledge and Application on Earth Science Subjuect Matter.Science Education.66(1), 85-93.
Pizzini, E. L., Shepardson, D. LP, and Abell, S.K. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education.Science Education.73(5), 523-534.