แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู ครูผู้ช่วย พนักงานราชการ(ครู) และครูพิเศษสอนหรือครูอัตราจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาภาครัฐในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี อาชีวศึกษาจังหวัดระยอง และอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมจำนวนบุคลากรครูทั้งหมด317 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลระดับสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูอาชีวศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่น0.81สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า1) ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ประเภทวิทยาลัย และประเภทวิชาที่สอนที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกโดยรวมไม่แตกต่างกัน 2) ระดับสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ด้านการสร้างเครือข่าย ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้านโดยรวม ได้แก่ ด้านการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนงาน และการดูงานนอกสถานที่ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จิราพร ระโหฐาน. (2560). เอกสารคำสอนวิชาองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์.(น.283-285).ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี. (2561). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต.วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.4(1), 303-315.
ณัฐภัสสรธนาบวรพาณิชย์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย4.0.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ดัชนีย์จะวรรณะ. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4.(ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พีรวัตร จันทกูล. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(3),225-236.
เมธีศิน สมอุ่นจารย์และคณะ. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(3),169-180
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา. (2561). สรุปผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
แสงเพ็ชร แสงจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงราย.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 7(1), 130-141.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษาการวิจัย และเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา. (2561). คู่มือการประเมินตนเองและการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล(Individual Development Plan: ID PLAN)ของครูสายงานการสอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
อภิภาปรัชญพฤทธิ์. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงราย.วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก.35(3),102-131.
Nurhadi&Lyau. (2017). A Conceptual Framework for the Development of Twenty-First Century Vocational Teachers’ Professional Competencies.International Forum of Teaching and Studies,13(2), 8-20.
Dam, K. (2010). Developing a Competency-Based Framework for Teachers’ Entrepreneurial Behavior.Teaching and Teacher Education, 26, 965-971
Grosch. (2017). developing a competency standard for TVET teachers education in ASEAN countries. JurnalPendidikanTeknologidanKejuruan, 23 (3), 281-287
Yamane, Taro. (1973). Statistics: an Introductory analysis(2nded.). New York: Harper & Row.