การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

รัตนพร บูรณะพล
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธี STARให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5ของโรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2562จำนวน 29คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธี STAR จำนวน 9แผน 2)แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ 3)แบบสัมภาษณ์นักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยแบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 44.83 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 82.76 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 93.10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2562). การแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 7-21.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2559). การผสมผสานวิธีสอน (The Combination of Teaching Methods).วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 245-256.
ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: หลักพิมพ์.
เตชทัต เรืองธรรม. (2559). SHW การเขียนทางวิทยาศาสตร์.นิตยสาร สสวท., 45(203), 7-13.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล.[ออนไลน์], สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/potarticle/02.
พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
โรงเรียนสารคามพิทยาคม.(2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). มหาสารคาม.
สกุล ไชยวงค์และนัฐจิรา บุศย์ดี. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องช่างอุตสาหกรรม (Learning Provision by Using the STAR Strategy to Promote Mathematics Problem Solving Ability of Grade 10 Students in Industrial Program).Silpakorn Educational Research Journal, 12(2), 289-305.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). ค่าสถิตพื้นฐานผลคะแนนการสอบวิชาสามัญ 9 วิชาปีการศึกษา 2562 จำแนกตามวิชา. [ออนไลน์], สืบค้นจากจาก:https://www.niets.or.th/th/catalog/view/247
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts),9(1), 356-368.
สิรพัฒน์ ประโทนเทน. (2555). ทำอย่างไรถึงจะเก่งฟิสิกส์. นิตยสาร สสวท.,40(177), 36-39.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.
Adams, S., Ellis, L., & Beeson, B. F. (1977). Teaching mathematics: With emphasis on the diagnostic approach. HarperCollins Publishers.
Constant, F.W. (1967). Fundamental Principle of Physics.Massachusets: Addison Wesley Publishing Company.
Coyle, D. (2012).T he little book of talent: 52 tips for improving your skills. Bantam.
Kemmis, S &McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rded.).Victoria: Deakin University.
Metallidou, P. (2009). Pre-service and in-service teachers' metacognitive knowledge about problem-solving strategies.Teaching and Teacher Education, 25(1), 76-82.
Nagel D. R.; Schumaker J. B.; & Deshler D. D. (1986). FIRST-Letter Mnemonic Strategy.Retrieved from https://sim.drupal.ku.edu/sites/sim.ku.edu/files/files/Research/FIRST.pdf.
William, Kenneth M. (2003). Writing about the Problem-Solving Process to Improve Problem-Solving Performance.Mathematics Teacher, 96(3), 185-187.