การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคามและเพื่อศึกษาคุณภาพของนักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคามเขต 1เขต 2 และ เขต 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการศึกษาพบว่า1)ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ในภาพรวมและทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ2)คุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านใฝ่เรียนรู้ และด้านรักความเป็นไทยตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรุญ จับบัง ภารดี อนันต์นาวี เจริญวิชญ์สมพงษ์ธรรม และสมโภชน์ อเนกสุข. (2555). “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตาม ยุทธศาสตร์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,”วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.6(2), 59-72; เมษายน-กันยายน.
ธนสมพร มะโนรัตน์. (2560). “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนบ้านห่องวารี (นิพัทธ์ธรรมาภรณ์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2”,วารสารงานวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.5(1), 43-63; มกราคม-มิถุนายน.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.นริศรา ตาปราบ สมเจตน์ ภูศรี และศิริ ถีอาสนา. (2562). “รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนจังหวัดชัยภูมิ,”วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น.6(3), 548-565; กรกฎาคม-กันยายน.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว การพิมพ์.
บุญรอด ชาติยานนท์. (2561). “การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร”VeridianE-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.11(3),2284-2299; กันยายน–ธันวาคม.
พนิดา โชคพิพัฒน์ไพบูลย์ และธีระพงศ์ บุศรากูล. (2562). “ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง,”วารสารศึกษาศาสตรมมร.7(2), 233-246; กรกฎาคม-ธันวาคม.
วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์ และณรงค์ศักดิ์จันทร์นวล. (2560). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33,”วารสารพิฆเนศวร์สาร.13(1), 97-115; มกราคม-มิถุนายน.
สุชาติ วิริยะ. (2558). “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1”, วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.4(1), 277-288; มกราคม-มิถุนายน.