การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

Main Article Content

ธัญพิชชา อุ่นรัมย์
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้อองการจำเป็น ของการดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูจำนวน 472 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling technique) ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูโรงเรียนต้นแบบ และแบบประเมินในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


            ผลการวิจัยพบว่า1) การดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สภาพปัจจุบัน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นมากที่สุดด้านวางแผนการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ รองลงมาด้านการประเมินผล ติดตาม และปรับปรุงการทำงานของการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ด้านการดำเนินการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ และด้านการสะท้อนผล รายงาน และเผยแพร่ผลการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ2) แนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 26 ตัวชี้วัด 33 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ พบว่า แนวทางมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2544). คู่มือการปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น.(พิมพครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วรรณภา ธรรมขันธ์. (2562). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7(28), 192-201.
สันติ อุดคำ. (2560). ที่ได้ศึกษาการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(34), 197-205.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในหัวใจการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน.วารสารวิชาการ. 5(8), 25-31.
สุนีย์ ดอกดวง. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.8(3), 173-182.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการประเมินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปีการศึกษา 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปี 2551. กรุงเทพฯ: สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา.
อุทัยรัตน์ แสงพระจันทร์. (2559). การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกลุ่ม 5 ขุนศึก. วารสารครุพิบูล.3(1),49-61.
Adams, H.and Frank, D. (1996). Basic Principles of Supervision.New York: American Book.
Burton, W. and Brueckner, L. J. (1965).Supervisor: ASocial Process.NewYork:AppletonCentury Crotts.
Bloom,C.C.Castha and B. Warren. (2003). “More than Mentors: Principal Coaching,”Leadership.May-June.
Briggs, T.H. and Justman, J. (1982). Improving Instruction through Supervision.New York: Macmillan.
Goldhammer, R. et al. (1980). Clinical Supervision. 2nded. New York: Holt Rinehart and Winston.