โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

Main Article Content

พงษ์ชัย เพ็ญศักดิ์ณุสรณ์
วราภรณ์ ไทยมา
ภัทราวดี มากมี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 10 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างในระดับบุคคล โดย Hair et al. (2010) ได้ขนาด 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ งานวิจัยนี้มีตัวแปรสังเกตได้ 24 ตัวแปร ใช้จำนวน (20x24=480) ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น 480 รูป/คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (StratifiedRandomSampling)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และแบบสอบถามวัดความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เกี่ยวกับปัจจัยและประสิทธิผลของสถานศึกษา


            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีจำนวน 5 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยความเป็นผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยบรรยากาศองค์การ ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัจจัยแรงจูงใจเพื่อการทำงานโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สอดคล้องของกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยปัจจัยความเป็นผู้นำของผู้บริหารปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยบรรยากาศองค์การ ปัจจัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และปัจจัยแรงจูงใจเพื่อการทำงาน มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ปัจจัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีอิทธิพลเท่ากับ .208ปัจจัยด้านการบริหาร มีอิทธิพลเท่ากับ .155ปัจจัยบรรยากาศองค์การ มีอิทธิพลเท่ากับ .100ปัจจัยแรงจูงใจเพื่อการทำงาน มีอิทธิพลเท่ากับ.185 มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญ.016และรวมเป็นอิทธิพลสรุปเชิงบวก ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .201ปัจจัยความเป็นผู้นำของผู้บริหาร มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ.181 มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก.377 และรวมเป็นอิทธิพลสรุปเชิงบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .558

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จินตนา สระทองขาว. (2554). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 8ตามรอยพระยุคลบาทเกษตรศาสตร์กำแพงแสน8-9 ธันวาคม 2554 (หน้า200-210) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ดารณี คงกระพันธ์. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(78), 148-158.
ธมฺมจรถ. (2551). ธรรมลีลา. สืบค้นจาก https://mgronline.com/dhamma/detail/9510000002343.
ปนัดดา ม่วงทอง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการบริหารสมดุลรอบด้านของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และเขต 2. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 3(1), 29-38.
พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563).เปิดหรือปิดโรงเรียนอย่างไรให้ได้มากกว่าเสีย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650135.
พระครูอุทัยปริยัติโกศล. (2560). การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์.วารสารวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,3(1), 54-68
ภารดี อนันต์นาวี. (2549). การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่ดีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 89-102.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2549). การบริหารการเปลี่ยนแปลงและองค์กรแห่งการเรียนรู้. เอกสารอัดสำเนา
วชิราพร สุวรรณศรวล. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชันเรียนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่างกัน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สกล พันธมาศ, ชัยพจน์ รักงาน และสมุทร ชำนาญ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โรงเรียนสำนักงานสังกัตเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 44-55.
อนุสิทธิ นามโยธา. (2555). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน.วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(3), 20-29
อัมพร วงษ์พิทักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนครระยองวิทยาคม (วัดโขดใต้). หนังสือสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
Bernard, B. (2006). Rethinking leadership and change: A case study in leadership succession and its impact on school transformation.Cambridge Journal of Education.
Glod, S. E. (2000). Community organizing at a neighborhood high school: Promises and dilemmas in building parent-educator partnership and collaborations. Pro Quest Digital Dissertations.
Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (1996).Educational administration: Concept and practices (2nd ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
Raynold, D. (1998). Schooling for literacy: A review of recherche on teacher effectiveness and school effectiveness and implication for contemporary education policy.Education Review.
Stringer, R. (2002). Leadership and organization climate.New Jersey: McGraw-Hill.
Trusty, F. M. (1986). Administration/ Supervisor career leader orientation manual. Nashville, Tennessee: Tennessee Department of Education.
Wagner, B. D. (2006). Motivation and professional growth in early childhood teachers.Dissertation University of Rochester.
Wright, B. E. (2001). Toward understanding task, mission and public service motivation: A conceptual and empirical synthesis of goal theory and public service motivation. Charlotte, NC: University of North Carolina at Charlotte.