ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 22)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย และสร้างสมการตัวแปรเชิงพยากรณ์ที่ดีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 317 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 5 ตอน มีข้อคำถาม 157 ข้อ เครื่องมือเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (IOC) ระหว่าง 0.60-1.00และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Stepwise โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยความผูกพันต่อสถานศึกษา รองลงมาคือปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ ปัจจัยส่วนบุคคลตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด คือ ปัจจัยบรรยากาศสถานศึกษา 2)ปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมกันส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูทางบวก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05โดยอำนาจการพยากรณ์ของสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู ส่งผลต่อการตัดสินใจ 0.838 มี 3 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) ปัจจัยความผูกพันต่อสถานศึกษา (X4) และปัจจัยบรรยากาศสถานศึกษา(X2) โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ = .200 + .548X3 + .305X4 +.103 X2
สมการคะแนนมาตรฐาน Z = .554 X3+ .337 X4 + .117 X2
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ชยาธิศ กัญหา. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธันวนี ประกอบของ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานความผูกพันต่อองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 1(1), 11-19.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและ แนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
มงคล ศัยยกุล. (2556). แบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ.วารสารวิชาการ และ วิจัยสังคมศาสตร์, 9(25), 79-94
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ ติเยาว์ และ คณะ. (2548). การบริหารกลยุทธ์(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหาร และพฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพฯ:ผู้จัดการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. (2562). ข้อมูลโรงเรียนในต้นสังกัด. สืบค้นจาก http://www2.oea2.go.th/ข้อมูลโรงเรียนในต้นสังกัด.
สํานักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ:สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบ และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อริยา คูหา. (2545). แรงจูงใจ และอารมณ์. ปัตตานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.