สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 193โรงเรียน โดยการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าหรือรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูประจำชั้นระดับประถมศึกษา รวมทั้งสิ้น 579 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความครอบคลุมและความเหมาะสม (Index of Item-Objective Congruence: IOC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่า IOC ทั้งฉบับเท่ากับ0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกรายด้าน พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=3.662) (=4.518) ตามลำดับ และค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified=0.246) 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะของคนในสังคม 5.0 ทักษะดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=3.692) (=4.521)ตามลำดับ และค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และสืบค้นทางวิทยาศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (PNImodified=0.251)
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่,วารสารบัณฑิตวิจัย. 9(1), 115-130.
พราวพรรณ พลบุญ. (2560). การสร้างพลเมืองคุณภาพ smart citizens สู่สังคมญี่ปุ่น 5.0: กรณีศึกษาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการวิจัย.
พัฒน์ชินี ขันทศกร และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2561). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วิชัย พยัคฆโส. (2559). สยามรัฐผลัดใบ: ประเทศไทย 4.0สะท้อนผลลัพธ์สู่สังคม 5.0.สืบค้นจาก https://www.siamrath.co.th/n/3954.
ศศิวิมล สุขทนารักษ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1,วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6(1), 201-210
ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน. (2562). ถอดรหัสเทรนด์โลก อาชีพเกิดใหม่ ทักษะไหนที่เป็นที่ต้องการ. สืบค้นจากhttps://www.seasiacenter.com/th/insights/ถอดรหัสเทรนด์โลก-อาชีพ/.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมประจำญี่ปุ่น. (2561). Society 5.0. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
อนุวัฒน์ จองเดิน. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Keidanren. (2016). Toward realization of the new economy and society: Reform of the economy and society by the deepening of “Society 5.0”.Paper presented at Japan Business Federation.
UNESCO. (2018). Digital skills critical for jobs and social inclusion. [Online]. Retrieve 28 February 2020,from https://en.unesco.org/news/digital-skills-critical-jobs-and-social-inclusion.