การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สิริยากร ชาวนาฮี
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านวิชาฟิสิกส์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพ E1/E2                                                               ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.35/71.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.26คิดเป็นร้อยละ 71.00 ซึ่งพบว่าผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มที่กำหนดไว้ 3)ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 54.16 คิดเป็นร้อยละ 75.22 ซึ่งพบว่าผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มที่กำหนดไว้


 
 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สิริยากร ชาวนาฮี, าควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

กัญญารัตน์ โคจร, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลธิดา สุวัชระกุลธร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 จากhttp://www.ska2.go.th/reis.
ชลธิชา ณ ลำปาง (2560).การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการคิดแก้ปัญหาผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo.วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(3), 48-58.
นันทนา ฐานวิเศษและวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการ. 29(2), 43-50 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), น. 43 – 50.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร : สุริยาสาส์นพิมพ์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ยรรยง สินธุ์งาม. (2559). การสอนแบบ PBL. สืบค้นจาก http://www.rcc.ac.th/data62/50.
ล้วน สายยศ.(2540). สถิติวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน์.
วทัญญู สุวรรณประทีป.(2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.8(2), 69-78.
วิจารณ์ พานิช. (2552). “วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21”. พิมพ์ครั้งที่ 1.มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2562). หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ศุภฤทธิ์ ไชยเลิศ. (2558). ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน,วารสารพิฆเนศวร์สารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 11(2), 86-99.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. (2558). โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติหรือ PISA. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 จาก pisathailand.ipst.ac.th.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2
Jeremy Overmyer. (2014). The Flipped Classroom. Retrieved April 7,
Sa-ah, N. (2008). Effects of Problem-Based Learning on Science Achievement, Self-Directed Learning and Satisfaction with Learning of Mathayomsuksa Five Students, 27. Retrieved January 2021, from Prince of Songkla University.