การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์แบบอุปนัยที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1)เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/752)เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 754)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 705)เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (ClusterRandomSampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิดประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test for one sample และ Dependent Samples t-testผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ78.56/77.59ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/752)ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเท่ากับ0.68123) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันชั้นมัธยมศึกษาปีที่4หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054)ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันชั้นมัธยมศึกษาปีที่4หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .055)นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ประยูร สันดี. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2.วารสารการวัดผลการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 16(12),197-203.
ไพศาล แมลงทับทอง.(2558).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบอุปนัยและนิรนัยที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.26(2), 102-113.
เยาว์ประภา สิงห์มหาไชย.(2561).ผลการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วารสารวิจัยรำไพพรรณี.12(3), 147-159.
โรงเรียนอนุกูลนารี. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2561.กาฬสินธุ์:โรงเรียนอนุกูลนารี.ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538).เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
วิชัย เสวกงาม. (2557). ความสามารถในการให้เหตุผลความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.วารสารครุศาสตร์, 42(2), 207-223.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547).การให้เหตุผลในวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทรากขวัญจำกัด.
สมเดช บุญประจักษ์. (2551). หลักการคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิทักษ์การพิมพ์.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).(2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี การศึกษา 2561. สืบค้นจาก :http://www.niets.or.th.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงมโนทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
เอกภพ เฟื่องสำรวจ.(2562).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ.วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.25(2), 326-342.
อัมพร ไชยฤทธิ์. (2559).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับนิรนัย และแบบปกติ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.10(พิเศษ), 1058-1071.
อุไรวรรณ คำเมือง.(2563).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.10(1), 46-54.
Russell, S. J. (1999). Mathematical Reasoning in the Elementary Grades.In L. V. Stiff.& F.R. Curcio (Eds.), Developing Mathematical Reasoning in Grades K-12 (pp.1-12). Reston, VA: NCTM.