การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาเรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ธนกร เนตรวงษ์
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/752)ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและ4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขื่องคำ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จำนวน 18 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon Singed Rank Test


            ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75ได้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน แต่ละแผนประกอบด้วยสาระสำคัญ มาตรฐานตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผลการประเมินความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่4.70-4.80 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และ ผลการหาประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.45/77.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด2) ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี เท่ากับ 0.81แสดงว่าหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น แล้วนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 81.003)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054)ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมค่าเฉลี่ย 4.60อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2543). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปัทมา เล็กยินดี. (2559).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการแปลความ และทักษะการตีความเรื่องสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบซิป. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม 2559.
กิตติกวินท์ปินไชย. (2564).ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,3(15), มกราคม-เมษายน.