การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยเทคนิคอินโฟกราฟิกโมเดล

Main Article Content

ชมพูนุท เมฆเมืองทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยเทคนิคอินโฟกราฟิกโมเดลที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาเทคนิคและศิลปะการนำเสนอ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน ได้มาโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และ3) แบบวัดความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐานคือ One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยเทคนิค Infographic Ideas Model มีกระบวนการการเรียนรู้ 5ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมเนื้อหาขั้นเรียนรู้ ขั้นการออกแบบ ขั้นสะท้อนแนวทางการสร้างสรรค์ และขั้นการรับรองผลงาน มีประสิทธิภาพ E1/ E2เท่ากับ 78.41/78.23 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค Infographic Ideas Modelโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.99, S.D. = 0.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริกศักดิ์เบญจรัฐพงศ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนเรื่องการผลิตสื่อประกอบการสอนในรูปแบบ Infographic เพื่อใช้ในการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), กรกฎาคม-ธันวาคม. 82-93.
จุมพฏ พงศ์ศักดิ์ศรี, ดิเรก ธีระภูธร และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.(2562).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบการเรียนรู้ด้วยการใช้แผนผังความคิดที่มีต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระดับปริญญาตรี.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), เมษายน -มิถุนายน. 54-63.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2561). การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 เป็นฐาน: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46 (1) มกราคม-มีนาคม. 171-184.
ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์. (2562).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน).กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556).การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20,มกราคม-มิถุนายน
ฐิญาณา สุภัทรชยาภูมิ. (2561).ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้โครงงานที่เน้นจิตสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ (ปร.ด.). กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. (2560).บทบาทของการสื่อสารอินโฟกราฟิกต่อสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต. 11(2) 145-179, กรกฎาคม-ธันวาคม.
ธนะวัชร จริยะภูมิ และ พัลลภ พิริยะสรุวงศ์. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(3), 292-302, กันยายน-ธันวาคม.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาจิตวิทยาเพื่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิต โดยการเรียนรู้ผ่านการผลิตสื่ออินโฟกราฟิก. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2),153-166, กรกฎาคม-ธันวาคม.
ธันยนันท์ ทองบุญตา. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพัฒนาการมนุษย์และจิตวิทยาการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสำหรับครูของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 โดยการเรียนรู้จากการผลิตสื่ออินโฟกราฟิก.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(2), 91-98, กรกฎาคม-ธันวาคม.
นํ้ามนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). อินโฟกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 28-40,กรกฎาคม-ธันวาคม.
เลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาการศึกษาเสวนา 2016-2017 : บทบาทการศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อภินภัศจิตรกร. (2560).การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย.37(1),23-42, เมษายน