การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สวรรยา ศรีใชย
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ
ประภัสสร ปรีเอี่ยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80(2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบเทคนิค STAD เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านนกเหาะ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค STAD จำนวน 10 แผน 10 ชั่วโมง(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบปรนัย ก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างละ 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .24-.76 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20-.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .88(3) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบให้เลือกตอบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .29-.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .73 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานดัชนีประสิทธิภาพ ดัชนีประสิทธิผล และค่า t-test


       ผลการวิจัย พบว่า(1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.82/84.51 (2) ค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.9714 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.14 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรม. (2551).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จิราภรณ์ แป้นสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีทุ่งสง.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8 (ฉบับพิเศษ), ตุลาคม 2561.
ต่อศักดิ์ บุญพิมล (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปฐมพงษ์ พืชสิงห์. (2553).การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8 (ฉบับพิเศษ),ตุลาคม.
ประภัสสร ปรีเอี่ยม. (2561).บุพปัจจัยการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้เทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของครูในชั้นเรียนรวม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(3), กันยายน-ธันวาคม.
สมาน เอกพิมพ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีสู่ปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาCurriculum development:theory into practice of design and development.มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
สมฤดี พิพิธกุล. (2559).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STADร่วมกับสื่อประสม.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8 (ฉบับพิเศษ), ตุลาคม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561).ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 2(2552-2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
Slavin, E Robert. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice.(4th). Boston:Allynand Bacon.