การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการปรีดา วิลล์อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการปรีดา วิลล์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาเพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ความต้องการซื้อ ความตั้งใจซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทั้งหมด 4 ด้านประกอบด้วยการตลาด การจัดการ เทคนิค และการเงิน ผลการศึกษาด้านการตลาดพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อทาวน์โฮมและอาคารพาณิชย์มากกว่า 50%ส่วนประสมทางการตลาดที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การออกแบบอาคาร ความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอย ฟรีค่าธรรมเนียมในการโอน และการให้บริการก่อนและหลังการขาย การจัดการพบว่าบริษัทควรมีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19ด้านเทคนิคพบว่า โครงการเป็นอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน (Mixed-use real estate) ที่มีทั้งอาคารพาณิชย์เพื่อประกอบการค้าและทาวน์โฮมเพื่ออยู่อาศัยตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) และการเงินพบว่า โครงการจะมีการลงทุนทั้งสิ้น36,234,050 บาท มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)เท่ากับ 7,891,268 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ(IRR)เท่ากับร้อยละ30.01%ซึ่งมากกว่าต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน เท่ากับ 6.30%กำหนดระยะเวลาโครงการทั้งสิ้น 14 เดือน มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 11 เดือน หากขายทาวน์โฮมได้ 4 ยูนิต และอาคารพาณิชย์ได้ 5 ยูนิตจากทั้งหมด 22 ยูนิตจะถึงจุดคุ้มทุน จากผลการศึกษาทั้ง 4 ด้านดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่า โครงการในจังหวัดมหาสารคามมีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ในการลงทุน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2563). อสังหาฯมหาสารคาม ขับเคลื่อนด้วยภาคการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.fnsyrus.com/uploads/research/201026DHOUSE_FirstDayTrade.pdf
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2564).สินเชื่อประเภทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย. สืบค้นจากhttps://www.ghbank.co.th/information/interest-rate/loan/
นิติ รัตนปรีชาเวช. (2561). หลักการและแนวคิดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พริมสุจี อมตธงไชยและประเสริฐ ดำรงชัย. (2562). การศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้าง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 9(1),33-39.
พิมพ์พรรณ งามภักดิ์และกองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์. (2556).แนวทางการลดต้นทุนการก่อสร้างบ้านเดี่ยวระดับล่างของผู้ประกอบการรายใหญ่. โครงการประชุมวิชาการ Built Environment Research Associates Associates Conference, 394-399.
พาณิภัค พระชัยและธีระ ฤทธิรอด. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเปิดร้านกาแฟ “บ้านกาแฟสด หลังมอ24ชม.” ฝั่งยูพลาซ่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น(ฉบับบัณฑิตศึกษา)สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(3),94-106.
ภัฐฬเดช มาเจริญและวชรภูมิ เบญจโอฬาร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 6(2),22-34.
ฤทธิชัย ศรีโปฎกและอรพิณ สันติธีรากล. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทนธุรกิจแฟรนไชส์ร้านไปรษณีย์ เอกชนในอําเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.1(4),106-122.
วิศิษฎ์ เกตุรัตนกุลและคณะ. (2562). กลยุทธ์การแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ขายสินค้าแฟชั่นกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 18(24),117-129.
ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์และวุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2563). บ้านกับความสมบูรณ์พร้อมของการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 27(2), 387-415.
สำนักงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม. (2563). สำนักงานสถิติจังหวัดมหาสารคามรายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2563.สืบค้นจากhttp://mahasarakham.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=581:mkmreport2563&catid=120&Itemid=716.
หฤทัย มีนะพันธุ์. (2550). หลักการวิเคราะห์โครงการ: ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
อมรวรรณ รังกูล.(2563).การบริหารทรัพยากรมนุษย์:Human resource management (พิมพ์ครั้งที่ 6). ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
KohA., Ang, S. K., Birgham, E. F. & Ehrhard, M.C. (2014). Financial Management: Theory and Practice, An Asia Edition.Singapore.
Kotler, P.(1997).Marketing Management Analysis, Planning,Implementation and Control.(14th Global Edition.Upper Saddle River,NJ:Prentice-Hall.
KrungthaiCOMPASS. (2020).Residential Market Outlook (2020-2021): ปรับตัวให้พร้อมกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal. สืบค้นจากhttps://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_448Residential_Market_Outlook_2020-2021.pdf.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Maslow, Abraham M. (1954).Motivation and Personality. New York: Harper and Row.
Mike E. Miles, et al. (2015). Real estate development :principles and process. (5thEdition). Washington, D.C.: Urban Land Institute.
Porter, M.E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. New York:Free Press.
Revinelli, R. J., & Hambleton, R.K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2,49-60.
R.S.Kaplan and D.P.Norton. (1996). The Balanced Scorecard:Translating Strategy into Action. Boston: Harvard Business School Press.
Romanelli, E., & Tushman, M.L. (1986). Inertia, environments,and strategic choice: A quasi-experimental design for comparative-longitudinal research. Management science,32(5):608-621.
Starbuck, W.H. (1983). Organizations and their environments.In M.D.Dunnette(Ed.), Handbook of organizational and industry psychology. New York: Wiley.
Yamane,Taro. (1973). Statistics: an Introductory analysis.(2nd Edition). New York: Harper & Row.