การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่สำหรับครูแผนกช่างยนต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

เอกราช ไชยเพีย
ณัฏฐชัย จันทชุม
พรทิพย์ วรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่สำหรับครูแผนกช่างยนต์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็น4ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการฝึกอบรมโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คนและศึกษาความต้องการฝึกอบรมจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน110 คนโดยเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามระยะที่ 2การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการประเมินคุณภาพโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบประเมินโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมระยะที่ 3การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยได้แก่หลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินความพึงพอใจ และระยะที่ 4การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 215 คนโดยเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม


            ผลการวิจัยพบว่า1) การประเมินความคิดเห็นความต้องการฝึกอบรมของครูผู้สอนด้านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เกี่ยวกับหัวข้อฝึกอบรมอยู่ระดับในระดับมากขึ้นไปจำนวน8 หน่วย2) การประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดค่าความยากง่ายข้อสอบ(p)อยู่ระหว่าง 0.30-0.425ค่าอำนาจจำแนกข้อสอบอยู่ระหว่าง(r) 0.20-0.50และความเชื่อมั่นข้อสอบ KR 20อยู่ที่0.883) หลักสูตรมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.16/81.20 ผลการประเมินการปฏิบัติงานร้อยละ 89.33ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมของผู้เข้าอบรมมีคะแนนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมในระดับมากที่สุด4) การประเมินผลการใช้หลักสูตรหลังการฝึกอบรมผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิสราอริยะเดชช์.(2562).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,13(3),149-157.
ชาติชาย ตลุนจันทร์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานในการพัฒนาชุดฝึกอบรมสมรรถนะช่างเทคนิคซ่อมบํารุงรักษาตามความต้องการเฉพาะแห่งของสถานประกอบการ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 197-205.
ปวิณกรแป้นกลัด.(2558).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิชาชีพตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ.วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา,27(95), 61-72.
พงษ์ศักดิ์ย้อยเสริฐสุทธิ์.(2555).การศึกษาแนวทางพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพของบุคลากรในอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโยโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 6(2),100-109.
รัตนะ บัวสนธ์.(2556).การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 2).พิษณุโลก:สำนักพิมพ์บั๊วกราฟฟิค.
วีระยุทธสุดสมบูรณ์.(2553).รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะสำหรับรายวิชาเทคโนโลยียานยนต์.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ,1(2),65-76.
สงัด อุทรานันท์.(2532).พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:มิตรสยาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579).สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562จากhttps://www.nesdc.go.th/.
สิทธิพลอาจอินทร์.(2561).การพัฒนาหลักสูตร(พิมพ์ครั้งที่ 3).ขอนแก่น:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Taba,H. (1962).Curriculum DevelomentTheory and Practice.New York:Harcourt,Brace and World.