การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธี STAR ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปิยมาศ บุดดาน้อย
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธี STARที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/702) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธี STAR กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธี STARกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4จำนวน 33คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน One sample t-test


       ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธี STAR มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นนำก่อนเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด3) ขั้นศึกษาโจทย์ปัญหา4) ขั้นการแปลงโจทย์ปัญหาและค้นหาคำตอบ5) ขั้นทบทวนคำตอบแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากและกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 75.20/74.96 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธีSTARมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.053)นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกลวิธี STAR มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2562). การแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 7-21.
จรรยา ดาสา. (2553). เทคนิคการจัดการเรียนรู้สาหรับการแก้โจทย์ปัญหาเคมีคำนวณ. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 38(167), 44-48.
จรรยา ดาสา. (2554). โครงการการพัฒนาความรู้บูรณาการวิธีการสอนของครูผู้สอนวิชาเคมี เรื่อง การจัดการเรียนรู้เคมีคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด.(พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
ชาติชาย ม่วงปฐม. (2557). ทฤษฎีการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563.จากhttp://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/17c59V53360FeV129B1K.pdf
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL), วารสารวิชาการ. 2(3), 2-27.
นันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2560). ความรู้พื้นฐานด้านการเรียนการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นุชลี อุปภัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
รัตนพร บูรณะพล และกัญญารัตน์ โคจร. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1), 123-136.
รุ่งทิวา การะกุลและประสาท เนืองเฉลิม. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,3(2), 38-53.
โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self Assessment Report: SAR). มหาสารคาม: โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์.
วรัทยา มณีรัตน์ และปิยรัตน์ ดรบัณฑิต. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาเคมีเรื่อง กรด-เบส โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(2), 297-306.
สุจินต์ สุทธิวรางกูล. (2558). การพัฒนาแบบฝึกวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์คำนวณ วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ว23101 ตามแนวคิดของโพลยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับการสอนซ่อมเสริมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 147-169.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). ค่าสถิติพื้นฐานผลคะแนนการสอบO-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำแนกตามสาระการเรียนรู้.สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865
Belland, B.R. (2011). Distributed cognition as a lens to understand the effects of scaffolds: the role of transfer of responsibility, Educ. Psychol. Rev., 23(4), 577-600.
BouJaoude, S.&Barakat, H. (2000). Secondary school students'dlifficulties with stoichiometry. School Science Review, 81(296), 91-98.
Driver, R.& Bell, B. (1986). Students Thinking and the Learning of Science; A Constructivist View. School Science Review, 67(240), 443-456.
Ipek, J. (2013). The Effects of Star Strategy of Computer-AssistedMathematics Lessons on the Achievement and Problem Solving Skills in 2 nd Grade Courses. Necatibey Faculty of Education ElectronicJournal of Science and Mathematics Education, 7(2), 314-345.
Kibos, R., Wachanga, S., &Changeiywo, J. (2015). Effects of constructivist teaching approach on students’ achievement in secondary school chemistry in Baringo North Sub-County, Kenya. International Journal of Advanced Research, 3(7), 1037-1049.
Maccini, P. & Hughes, C. A. (2000). Effects of a problem solving strategy on the introductory algebra performance of secondary students with learning disabilities. Learning DisabilitiesResearch& Practice,15(1), 10-21.
Maria Wendy M. Solomo. (2020). The Use of Constructivist Approach in Enhancing the Students’ Chemistry Achievement .Journal of Advanced Research in Social Sciences,3(1), 9-17.
Montague, M. (1992). The effects of cognitive and metacognitive strategy instruction on mathematical problem solving of middle school students with learning disabilities. Journal of Learning Disabilities. 25(4), 230-248.
Ozkubat,U., Karabulut, A. &Ucar, A.S. (2021). Investigating the Effectiveness of STAR Strategy in Math Problem Solving. International Journal of Progressive Education, 17(2), 83-100.
Polya, G. (2004). How to Solve :A New Aspect ofMathematical Method. New York: Princeton University Press.