รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ PLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ PLC 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ PLC กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 3 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยฐานะเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม หรือผลงานเกี่ยวกับโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 2 คน และครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ PLC ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบาย/กรอบยุทธศาสตร์ 2) กรอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 3) หลักการ ทฤษฎี 4) ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการและ 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2. ผลประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ PLC พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D. = 0.25)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
สํานักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนบ้านดอนใหญ่.กรุงเทพฯ:สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา.
โรงเรียนบ้านดอนใหญ่. (2561). รายงานประจำปี 2561. รายงาน ประจำปีโรงเรียนบ้านดอนใหญ่.
จีระพงษ์ หอมสุวรรณ และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(5), 34-42.
นฏกร ปิ่นสกุล และคณะ. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 71-81.
กชมล อยู่สุข, อนุศักดิ์ เกตุสิริ และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 154-166.
เกสิณี ชิวปรีชา และ ชญาพิมพ์ อุสาโห. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม สำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล.วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 41(3), 147-159.
คณิต ยวงสุวรรณ. (2547). รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต), ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.