การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านการแข่งขันเอาชนะอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านการประสานความร่วมมือ ควรรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากทุกฝ่าย และนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาคิดร่วมกันเพื่อแก้ไข ด้านการหลีกเลี่ยง ต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี ด้านการแข่งขันเอาชนะต้องกำชับให้ครู บุคลากรทางการศึกษาทุกคนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด ด้านการประนีประนอม ให้ใช้หลักการประนีประนอมบนพื้นฐานความถูกต้องเหมาะสม ตัดสินปัญหาบนความพอดี ถูกต้อง และทำให้เกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย และด้านการยอมให้ เปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมได้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามความเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 16 กันยายน 2562,จาก http://www.edu.ksu.ac.th.
ทวีชัย ฤกษ์พิชัย. (2558). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชสกลนคร, 11(1), 220-229.
ณัฐธิดา สุขกาย (2562) การบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(1), 57-67.
ณัฐพล จันทร์เกิด (2562). แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(1), 147-155.
นรินทร์ อิงอินทรี. (2549). การจัดความความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
มิ่งขวัญ พงษ์สถิตย์ (2556). การจัดการความขัดแย้งภายในองค์กร.สืบค้น 14 กันยายน 2562 จาก http://www.oia.coj.go.th.
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). องคการและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ จํากัด.
วันชัย วัฒนศัพท์ และ รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์. (2552). การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา. กรุงเพทฯ: สถาบันประปกเกล้า.
วันชัย มีชาติ. (2551). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันสันติวิธีและธรรมมาภิบาล. (2548). คำศัพท์ความขัดแย้ง. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
สัมมา รธนิธย์. (2553). ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.
Coffey, R. E., Cook, C. R., & Hunsaker, P. L. (1994) Management and organizational Behavior. Burr Ridge, IL: Irwin.
Thomas, Kenneth W. and Ralph H. Kilmann. (1987). Thomas-Kilmann Conflict Mode Interest. New York: COM Incorporated.
Weber, M (1968). Economy and Society. New York: Dedminister.