การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการอ่านและการเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น

Main Article Content

อนวัช สิญจวัตร์
ณัฏฐชัย จันทชุม
ทิพาพร สุจารี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ .เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการอ่านและการเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3. เพื่อนำหลักสูตรไปใช้ และ 4. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมโดยวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร สำรวจปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 รูป และระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)  และการทดสอบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ (One-Sample t-test )


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการอ่านและการเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น โดยรวมไม่มีความสามารถในการอ่านและการเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้นและ พบว่า พระสงฆ์มีความต้องการในการจัดการฝึกอบรมการอ่านและการเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.53, S.D.= 0.28)

  2. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) กิจกรรมการฝึกอบรม 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.64; S.D.=0.55) และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.01; S.D.=0.65)  สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้

  3. เมื่อนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้พบว่า พระสงฆ์ที่ได้รับการฝึกอบรมทุกรูปสามารถอ่านและเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น ได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีความพึงพอใจต่อการจัดการฝึกอบรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.06; S.D.=0.65) หลังการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนความรู้ด้านการอ่านและการเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น โดยเฉลี่ยเท่ากับ 51.95 คิดเป็นร้อยละ 86.58 จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 คน ผลการยืนยันประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมตรงกัน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 คน ยืนยัน โดยประสิทธิผลมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สามารถนำไปใช้และพัฒนาต่อได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูเกียรติ สีสุวรรณ์ (2534). ระบบการเรียนที่มีอยู่ในท้องถิ่นชนบทภาคเหนือ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธวัช ปุณโณทก (2540). สมุดภาพศิลาจารึกอีสาน : สรุปรายงานการวิจัยเรื่อง ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว การศึกษาทางด้านอักขรวิทยา.

บุษรา สังวาลเพ็ชร. (2548). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่องไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนสำหรับครูโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรครบวงจร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด อัทรานันท์. (2532) พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มิตรสยาม.

สนิท สมัครการ. (2534). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcout Brace & World

Tyler, Ralph, W. (1969). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.