การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเหล่าหนาด

Main Article Content

จักรพงศ์ วรสาร
สมาน เอกพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเหล่าหนาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเหล่าหนาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน เป็นเด็กนักเรียนชาย จำนวน 3 คน นักเรียนหญิง 4 คน รูปแบบการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน รวม 12 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ขั้นสังเกตรวบรวมข้อมูล 2) ขั้นคิดวิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติ 4) สรุปความรู้ และ5) ขั้นสื่อสารและนำเสนอ และ 2. ผลการศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนทั้ง 3 วงจรปฏิบัติการ พบว่า วงจรปฏิบัติที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 46.14 คิดเป็นร้อยละ 67.86 วงจรปฏิบัติที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ย 48.86 คิดเป็นร้อยละ 71.85 และวงจรปฏิบัติที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 52.71 คิดเป็นร้อยละ 77.52   จากนักเรียนจำนวน 7 คน คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 คิดเป็น ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่ 2). สถานที่พิมพ์ :องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546).การคิดเชิงวิเคราะห์. สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ชาติ แจ่มนุช. (2545). สอนอย่างไรให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์. (2560). ได้ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนานักศึกษาออกแบบแผนกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยการเรียนรู้เชิงรุก.พิฆเนศวร์สาร.13(2). 109-127.

ทิศนา แขมมณี. (2540). รูปแบบการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (ม.ป.ป.). รูปแบบการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พรพรรณ ศรีหาวงศ์ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และปฤณัต นัจนฤตย. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น.6(6).315-329.

พิชญะ กันธิยะ (2559) การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารบัณฑิตวิจัย. 7(2).137-152.

สิริพร ปาณาวงษ์ (2557). Active Learning เทคนิคการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2557จากhttp://edu.nsru.ac.th/2011/qass/?view=research.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2551). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี: ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.

Bloom, Benjamin S.ed., (1976). Human Characteristics and School Learning.New York: Mc Graw-Hill

Johnson, A. P. (2008). A Short Guide to Action Research (3rd ed.). Boston:Pearson Education.

Kemmis,S & McTaggart, R. (1988). The Action ResearchPlaner(3rded.).Victoria: Deakin University

Meyerson, M.J. (1993. “Exploring e ding Instruction Decision Though a ReflectiveActivity: TheFirst Step in the Change Process.” Journal of Educational and Psychological Consultation.4 (2): 153 – 168

Thomas & Field. (1977). Managing Project Based Learning: Principles from the Field, The Buck Institute or Education.

Thomas, Willard. (1972) Industrial Psychology. NewYork: Holt Rinehart and.Winston.Wiggins,

Grant and Jay McTighe. (2011). Understanding by Design Professional Development. Performance Assessment: GRASPS.