การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สิรินดา ครุธคำ
ฐิติวรดา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยโดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ      สื่อประสม เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ70 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และ ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้มาสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยใช้แบบ Paired - One Samples t-test ผลการวิจัย พบว่า


            1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยโดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียน        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70


            2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


             3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


             4) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชลดา บุญแสน. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระชัย เอี่ยมผ่อง. (2562).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา.มหาวิทยาลัยบูรพา.ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2528). การสร้างแบบวัดเจตคติ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 2, 125–153.

ปาหนัน กองคำ. (2561).การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วารสารวิจัยรำไพพรรณี.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริม.

พรทิพา เมืองโคตร. (2559).ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.

ภณิดา ชัยปัญญา. (2541). ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อกิจกรรมไร่นาสวนผสมภายใต้โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรของจังหวัดเชียงราย. สำนักพิมพ์เชียงใหม่:

วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ.นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ :โรงพิมพ์เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

วัฒนา รัตนพรหม. (2548). “การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,20(1),33-34.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษากรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). “คู่มือการใช้หลักสูตร ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1.”

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Cruikshank and Sheffield. (1992).Teaching and learing elementary and school mathematic.New York :Macmillan.

Tawfik, A., Trueman, R. J., & Lorz, M. M. (2014). Engaging Non-Scientists in STEM ThroughProblem-Based Learning and Service Learning. Interdisciplinary Journal of ProblemBased Learning, 8(2),81-83.